วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เชิญ 7 ชาติร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การแพทย์บูรณาการสู่ความสุขสบาย” พร้อมเผยผลวิจัยสุดทึ่งจากทั้งไทยและเทศ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เชิญ 7 ชาติร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การแพทย์บูรณาการสู่ความสุขสบาย” พร้อมเผยผลวิจัยสุดทึ่งจากทั้งไทยและเทศ



กรุงเทพฯ 7 มิถุนายน 2562  วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับสถาบันวิชาการระหว่างประเทศ 4 องค์กร จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “การแพทย์บูรณาการสู่ความสุขสบาย” (The 1st International Integrative Medicine for Wellness) เชิญทีมแพทย์และนักวิชาการจาก 7 ชาติชั้นนำ ได้แก่ เยอรมนี เดนมาร์ก อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และ สเปน รวมทั้งนักวิชาการไทยอีกจำนวนมาก ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยด้านการแพทย์บูรณาการ ตั้งเป้ายกไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์บูรณาการของโลก 


นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า “เรื่องของความสุขสบายหรือเวลเนสส์ (Wellness) และการแพทย์บูรณาการได้กลายเป็นความจำเป็นสำหรับสุขภาพของคนทั่วโลก และประเทศไทยเป็นเสมือนเมืองหลวงของเวลเนสส์ที่ทุกประเทศมุ่งมาหา อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการประชุมวิชาการในความรู้เรื่องนี้มาก่อน ทางวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้จัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็นความร่วมมือของสถาบันวิชาการระหว่างประเทศ 4 องค์กร มีแพทย์และนักวิชาการจากต่างประเทศ 7 ประเทศ รวมทั้งนักวิชาการไทยอีกจำนวนมากมาร่วมประชุม”

“ล่าสุด วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการวิจัยพบว่า “สารแสบเส้นเลือด” ที่ชื่อว่าโฮมีซิสเตอีน (homocysteine) ซึ่งทางวิทยาศาสตร์รู้กันมาระยะหนึ่งว่าสารนี้ทำให้เส้นเลือดอักเสบแล้วเหนี่ยวนำให้เกล็ดเลือดจับตัวในหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้หัวใจวายเฉียบพลันหรือเส้นเลือดสมองอุดตันกระทันหัน แต่สารนี้ถูกมองข้ามมาตลอดเนื่องจากประชากรอเมริกันมีอัตราที่มีสารแสบนี้จำนวนไม่สูง จึงชี้นำให้ทั่วโลกมัวสนใจแต่การลดคอเลสเตอรอล แต่เนื่องจากคนไทยในหลายปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติการณ์หัวใจวายเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการวิจัยเพื่อหาคำตอบอัตราการมีสารแสบในเลือดสูงในหมู่คนไทย”


ผลวิจัยเบื้องต้นชิ้นแรกพบว่า คนทำงานออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีอัตราสารแสบเส้นเลือดสูงกว่าปกติถึง 54.05% ของประชากร และยิ่งสูงมากถึง 84% ในออฟฟิศของพื้นที่โรงงานที่มีกิจการต้องผจญฝุ่น ทั้งๆที่อัตราการมีไขมันเลือดผิดปกติไม่ได้สูงอย่างผิดสังเกต งานวิจัยชิ้นนี้เป็นวิจัยเบื้องต้นที่ควรขยายผลการวิจัยให้กว้างไกลยิ่งขึ้น เพราะอาจนำไปสู่การป้องกันการเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจหลอดเลือด ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 และอันดับ 4 ของประเทศไทย” นพ.บรรจบ กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากการเปิดเผยผลงานวิจัยของทางวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ แล้ว ยังมีการจัดเสวนาเชิงวิชาการในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับความสุขสบายหรือ wellness และการแพทย์บูรณาการ โดยมีการเชิญทีมแพทย์และนักวิชาการจากต่างประเทศมาร่วมนำเสนอผลงานการวิจัยที่ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน อาทิ นพ.เคลาส์ แฮงเคอร์ ชาวเดนมาร์ก ที่มาเปิดเผยเกี่ยวกับสารบำบัดใหม่เอี่ยมต้านอักเสบ ลดไขมันโดยไม่ใช้ยา นพ.แพทริก การ์เรตต์ ชาวอเมริกันมาโชว์สารสมุนไพรคลายปวดแบบไม่ต้องพึ่งกัญชา นพ.เวนกิ เตซาน ชาวอินเดีย ที่มาสำแดงโฮมีพาธีย์บำบัด PM2.5 นพ.แกรี่ วีเวอร์ ชาวสเปน ผู้ประดิษฐ์แอพพลิเคชันวิเคราะห์สารโฮมีโอพาธีย์

ในส่วนของผลงานของนักวิจัยชาวไทย ก็มี นพ.บรรจบ ที่มาเปิดเผยผลวิจัยที่พบว่า การเจริญสติในแบบของหลวงปู่เทียนช่วยแก้โรคซึมเศร้า ยกความตื่นรู้ สู้ภัยเครียดได้ พร้อมด้วยนักรบทางภูมิปัญญาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยร่วมประลองวิชาอีกมากมาย โดยการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “การแพทย์บูรณาการสู่ความสุขสบาย” (The 1st International Integrative Medicine for Wellness) จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานคับคั่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here