กสอ.โชว์ผลสำเร็จโครงการ The Basecamp บ่มเพาะผู้ประกอบการไทย 50 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 53 ล้านบาท - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กสอ.โชว์ผลสำเร็จโครงการ The Basecamp บ่มเพาะผู้ประกอบการไทย 50 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 53 ล้านบาท



กรุงเทพฯ 12 กรกฎาคม 2562 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โชว์ผลสำเร็จโครงการส่งเสริมการใช้พื้นที่ร่วมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ (Co-Working Space) หรือ โครงการ The Basecamp ผลักดันระบบนิเวศเอื้อต่อการจัดตั้งธุรกิจส่งเสริมและยกระดับ Startup ไทย บ่มเพาะผู้ประกอบการ 50 ราย ภายในระยะเวลา 6 เดือน จนสามารถพัฒนาธุรกิจ สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 53 ล้านบาท ตอกย้ำส่งเสริมการใช้อุตสาหกรรม สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือ Prototype ได้สำเร็จ 


นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตามแนวนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล นั้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนาทักษะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมที่จะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นสิ่งสำคัญมาก และเพื่อเป็นการเสริมสร้างรากฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ 


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้เล็งเห็นความจำเป็นจึงสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการใช้พื้นที่ร่วมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ (Co-Working Space) ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทายาทธุรกิจ กลุ่มนักประดิษฐ์ นักวิจัย และนักพัฒนานักออกแบบที่มีแนวคิดสร้างสรรค์รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้นให้ได้รับการพัฒนาให้เกิดแนวคิดในธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ บริการใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้ 


“หลักสูตรการอบรมโครงการ The Basecamp นอกเหนือจากการส่งเสริมให้เกิดการใช้พื้นที่ร่วม หรือ Co-Working Space เพื่อพัฒนาธุรกิจแล้ว ยังมีหลักสูตรด้านพื้นฐานการสร้างแบรนด์ วิธีการนำเสนอแผน ธุรกิจกับแหล่งทุน การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบและหรือการออกแบบ 3D รวมทั้งพื้นฐานทางด้านการเงิน สำหรับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ การส่งเสริมด้านการสร้างสายสัมพันธ์ของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดเครือข่ายทางธุรกิจ การออกแสดงสินค้าเพื่อทดสอบตลาดจริง รวมถึงการได้ทดลองนำเสนอแผนธุรกิจให้กับแหล่งทุนอีกด้วย ผลจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 6 เดือน มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 ราย ได้รับการบ่มเพาะธุรกิจผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จนสามารถพัฒนาธุรกิจ สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ (มูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าการจ้างงาน และมูลค่าการลงทุน) โดยรวมกว่า 53 ล้านบาท และมีผลตอบแทน
เชิงเศรษฐศาสตร์ 1 : 13.25 เท่า ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการอีกหลายรายในโครงการฯ จะสามารถพัฒนาตนเอง ต่อยอดธุรกิจสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นได้อย่างเข้มแข็งเช่นเดียวกัน”
นายกอบชัย กล่าว 


สำหรับโครงการนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 ราย และผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 50 ราย ในการเข้าร่วมบ่มเพาะธุรกิจ โดยมีโค้ช หรือ ผู้เชี่ยวชาญจาก The World Startup Festival หน่วยงานจาก Silicon Valley ที่มีประสบการณ์ในด้านการสร้าง Startup ไปจนถึงการลงทุนกับ Startup มาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจนนำมาสู่พิธีมอบประกาศนียบัตรในวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยมีผลงานที่น่าสนใจ เช่น ผลิตภัณฑ์ Zading โปรตีนจิ้งหรีด อาหารแห่งอนาคต ผลงานของคุณภานุวัฒน์ โคตรโนนกอก ที่นำจิ้งหรีดมาแปรรูปเป็นโปรตีนทดแทนหรือโปรตีนผง ส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยเน้นจุดขายใช้จิ้งหรีดพันธุ์สะดิ้ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีโปรตีนสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ และเลี้ยงในระบบออแกนิค ซึ่งนอกจากจิ้งหรีดผงแล้ว ยังเตรียมทำผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดอื่น ๆ อีก เช่น เอนเนอจี้บาร์ เส้นขนมจีนอบแห้ง เป็นต้น 


รวมถึงผลงาน Medical Device ซึ่งเป็นเครื่องวิเคราะห์สไลด์แปบสเมียร์ ด้วยระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent หรือ AI) เพื่อคัดกรองเซลล์มะเร็งปากมดลูก ของคุณปริญญา วัฒนนุกูลชัย และคุณสมาธิ บัวคอม ที่เป็นการพลิกโฉมกระบวนการตรวจมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยให้รวดเร็วในเวลาไม่กี่วินาที จากวิธีปกติ ที่ต้องรอผลอย่างน้อย 3-5 วัน อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่านำเข้าถึง 50 เท่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here