วช. ร่วมกับ ม.เกษตร และสมาคมปลากัด เปิดตัวโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วช. ร่วมกับ ม.เกษตร และสมาคมปลากัด เปิดตัวโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมปลากัด เปิดตัว โครงการ การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมปลากัดพื้นเมืองอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีความสนใจในการทำงานวิจัยด้านปลากัด พร้อมศึกษา ค้นคว้า และจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ


รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนนราภรณ์ ผู้จัดการโครงการส่งเสริมกิจกรรมการให้ทุนวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เป็นประธานพิธีเปิดตัวโครงการ การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมปลากัดพื้นเมืองอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ พร้อมประชุมหารือเกี่ยวกับการวางแผนงานโครงการวิจัยระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสมาคมปลากัด เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีความสนใจในการทำงานวิจัยด้านปลากัด พร้อมศึกษา ค้นคว้า และจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธาน เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม นิเวศวิทยา และการแพร่กระจายของปลากัดป่า ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งธรรมชาติของประเทศไทย และทำการเก็บรักษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของปลากัดด้วยเทคโนโลยีการแช่แข็งเซลล์และการโคลนนิ่ง ทั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสมาคมปลากัด 


รองศาสตรจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือ และวางแนวทางของโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติได้สูงสุด ไม่ว่า จะเป็นการใช้ความรู้ที่ได้จากการวิจัย มาใช้ในการอนุรักษ์ การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ และการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยงานวิจัยนี้ จะเป็นการริเริ่มการทำโคลนนิ่งปลากัดเป็นครั้งแรก สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ทำให้ปลากัดของไทยเป็นที่สนใจในเวทีวิชาการระดับโลก และพัฒนานิสิตระดับปริญญาโท/เอก และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการยกระดับชนิดและสายพันธุ์ของปลากัดไทย ให้มีคุณค่าแก่การเป็นสัตว์น้ำประจำชาติมากยิ่งขึ้นตามแนวนโยบายรัฐ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here