รองนายกวิษณุ คุณหญิงกัลยา เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน” พร้อมลงนามความร่วมมือ กับสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รองนายกวิษณุ คุณหญิงกัลยา เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน” พร้อมลงนามความร่วมมือ กับสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


(๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓)-รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม และคุณหญิงกัลยา รมช.ศึกษาธิการ เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน” กระทรวงศึกษาธิการ โดยคุณหญิงกัลยา ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ กับสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (AGS) และลงนามกับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ยกระดับสู่การบริหารจัดการน้ำสากล


ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
การบริหารจัดการน้ำเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยส่วนหนึ่งของนโยบายในการบริหารจัดการน้ำคือ การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการนำศาสตร์ของพระราชา (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินการที่จริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ที่ได้รับการผลักดันและมุ่งมั่น ที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างแท้จริงของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และการสนับสนุนจากมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ที่มีคุณโชติ โสภณพนิช เป็นประธาน รวมไปถึงได้รับความร่วมมือจากองค์กรและหน่วยงาน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำในระดับสากล จะสร้างความยั่งยืนและความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน 


ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า
โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) ในการช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้มีน้ำใช้ ช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน จึงได้จัดให้มีการจัดทำหลักสูตร “ชลกร” พร้อมศูนย์เรียนรู้ภายในวิทยาลัยเกษตรฯ เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับชลกร เพื่อสร้างครูอาชีวเกษตรและแกนนำนักศึกษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำสำหรับชุมชนต่อไปในอนาคต นำองค์ความรู้มาแนะนำคนในชุมชน ช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อเองได้อย่างถูกต้องและขยายผลต่อไปได้


ปัจจุบันนี้โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ได้รับความสนใจ และได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงจิตอาสาอีกหลายท่านที่มาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมใจกันถวายเป็นพระราชกุศล อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ รวมถึงในวันนี้ (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓) กระทรวงศึกษาธิการ โดยดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (American Groundwater Solution : AGS) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และให้คำแนะนำในเรื่องการบริหารจัดการน้ำในระดับสากล พร้อมกับลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในการให้การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี


ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวต่อว่า
โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ จะยังเดินหน้าลงพื้นที่ศึกษา สำรวจ และให้ข้อมูลตามแผนการขยายผลโครงการบริหารจัดการน้ำฯ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง ๓ ภูมิภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พร้อมกับการสร้างหลักสูตรชลกร ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เพื่อถ่ายทอดหลักสูตรบริหารจัดการน้ำ มุ่งขยายผลสู่ชุมชน เร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง แก้จนอย่างยั่งยืน


นอกจากนี้จะมีการขยายผลเพิ่มเติม โดยมีแผนที่จะพัฒนายกระดับองค์ความรู้เรื่องธนาคารน้ำใต้ดินในประเทศไทยให้เข้าสู่หลักสากล ให้สอดคล้องกับหลักการด้านวิศวกรรม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีการสร้างหลักสูตรการบริหารจัดการน้ำสำหรับชุมชน โดยมีการประสานความร่วมมือ ระหว่างเครือยข่ายของ AGS เช่น MWRD (Metropolitan Water Reclamation District of Greater Chicago), WWM (water and waste management India) เพื่อให้เทคนิคการจัดการน้ำสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและง่ายต่อการเข้าใจและดำเนินการต่อชาวบ้าน และผู้สนใจ จึงนับเป็นความสำเร็จไปอีกขั้นในการเชื่อมโยงนำองค์ความรู้ที่เป็นสากลมาปรับใช้กับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับคนในพื้นที่ชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here