สดช. และ 20 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันจัดทำดัชนีตัวชี้วัดการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ และเผยข้อมูลผลการศึกษาและสำรวจ ประจำปี 2563 - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สดช. และ 20 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันจัดทำดัชนีตัวชี้วัดการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ และเผยข้อมูลผลการศึกษาและสำรวจ ประจำปี 2563


30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 – สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดงานสัมมนา “การสำรวจและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2563 (Thailand Digital Outlook 2020)” ขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ ประจำปี 2563


นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า
“สดช. ได้ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัย Thailand Digital Outlook ระยะที่ 2 ขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่สำคัญ ประกอบการจัดทำภาพการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ หรือ Thailand Digital Outlook ซึ่งผลการศึกษาที่ได้มา จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ต่อยอด ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การให้บริการประชาชน การออกนโยบายและมาตรการต่างๆ รวมถึงการวางแผนดำเนินกิจการในธุรกิจของภาคเอกชน”

ทั้งนี้ ภายในงาน มีการประกาศแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการจัดทำโครงการ Thailand Digital Outlook โดยมีหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีกว่า 21 หน่วยงาน อันจะเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทุกฝ่ายสำหรับการจัดทำดัชนีตัวชี้วัดด้านการพัฒนาดิจิทัลของประเทศต่อไป 


ภายในงาน ยังมีการนำเสนอสรุปผลการศึกษาวิจัยภายในโครงการ โดยทีมที่ปรึกษาของ สดช. โดยพบว่าประเทศไทยมีระดับการพัฒนาด้านดิจิทัลในระดับปานกลางค่อนดี โดยในบางมิติ เช่น การเข้าถึงและการใช้งานอินเทอร์เน็ตของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ การค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประเทศไทยถือว่ามีดัชนีชี้วัดที่สะท้อนมิติดังกล่าวในระดับที่ดี หรือระดับปานกลาง

อย่างไรก็ดี ในบางมิติ เช่น การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคธุรกิจ การลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่แรงงานจบใหม่และภาคประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปัจจัยดังกล่าวภายในประเทศ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป


จากผลการสำรวจภาคประชาชนทั่วประเทศ พบว่ากลุ่มผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลโดยแท้จริงของประเทศ คือกลุ่มคนในช่วงอายุตั้งแต่ 0-39 ปี โดยกิจกรรมออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การแชท การใช้โซเชียลมีเดีย การรับชมคอนเทนท์และสื่อต่างๆ การซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ โดยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ส่งผลให้คนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น มีการดำเนินกิจกรรมดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนออนไลน์ และการทำงานทางไกล หรือ Work Form Home

จากผลการสำรวจภาคธุรกิจทั่วประเทศ พบว่าภาคธุรกิจไทยยังมีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในสัดส่วนที่ไม่สูงนัก แม้ว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยมีการปรับตัวสู่การค้าขายสินค้า/บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยผลกระทบในวงกว้าง หลายภาคส่วนยังคงได้รับผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ซึ่งทำให้เป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องให้การสนับสนุนและช่วยเหลือภาคธุรกิจในประเทศ พร้อมไปกับการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศต่อไป


นอกจากนี้ ได้มีการเสวนาในหัวข้อ “Thailand Digital Outlook ประเทศไทยในยุคดิจิทัล จะก้าวไปอย่างไร?” โดยวิทยากรรับเชิญจากภาครัฐ (สดช. และ สพร.) ภาคเอกชน (สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และทีมที่ปรึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อภาพภูมิทัศน์ด้านดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคต จุดแข็ง/จุดอ่อน หรือปัจจัยที่จะนำพาประเทศไปสู่ภาพดังกล่าว รวมถึงแนวทางการเตรียมความพร้อม การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

นางวรรณพร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นแล้ว การทราบถึงภาพการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ จะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ต้องได้รับการพัฒนาต่อยอด หรือปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบแก่ประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย และจำเป็นต้องมีการดำเนินนโยบายหรือมาตรการด้านดิจิทัลเพื่อเร่งฟื้นฟู สร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว” 


"ผลการศึกษาและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดล่าสุด ถึงแม้ว่าอันดับของประเทศไทยจะขยับจากอันดับที่ 40 เป็นอันดับที่ 39 นั้น สำหรับภาคประชาชน ยังมีองค์ความรู้ในทุกๆด้านของดิจิทัลอยู่เพียงแค่ 60% จึงทำให้มองเห็นว่ายังมีส่วนที่จะต้องพัฒนาในองค์ประกอบด้านต่างๆของดิจิทัลได้อีก" เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here