ดีอีเอส ชี้ตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 1 ปี รวบผู้กระทำผิด 61 ราย - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ดีอีเอส ชี้ตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 1 ปี รวบผู้กระทำผิด 61 ราย


ดีอีเอส เปิดใจการจัดเวที “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม” และ ผลการทำงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ร่วมกับ ศปอส.ตร. ปีแรก ดำเนินคดีผู้กระทำผิด 61 ราย ขณะที่ช่วง 11 เดือนแรกของปี 63 จับกุมผู้โพสต์ข่าวปลอมบนโซเชียลไปแล้ว 104 ราย พร้อมแนะวิธีการ 12 ข้อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตัวเอง


นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และ ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เป็นประธานในงานแถลงข่าวของโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ร่วมด้วย พ.ต.อ.ประดิษฐ์ เปการี ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.น. 5, พ.ต.อ.บัญชา ศรีสุข ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.ภ.1 และ นายสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
ที่ห้องกรุงศรีอยุธยา 2 โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.


นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า
ทางศูนย์ฯ ได้จัดให้มีการจัดสัมมนา ”สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม” ภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการสร้างงานรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไป ครอบคลุม 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล มีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอม และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง

“ที่ผ่านมา การทำงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เน้นบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบและเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องแก่ประชาชน และได้ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4 กลุ่มข่าว คือ กลุ่มภัยพิบัติ กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ และกลุ่มนโยบายรัฐบาล”


“โดยจากการทำงานร่วมกับศปอส.ตร. ตลอดระยะเวลาราว 1 ปีนับตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ฯ (1 พ.ย.62-30 พ.ย.63) มีการส่งเคสเกี่ยวกับข่าวปลอมและบิดเบือน เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ ศปอส.ตร. ทั้งสิ้น 660 เรื่อง และมีการดำเนินคดี 26 เรื่อง รวมผู้กระทำความผิด 61 ราย แบ่งเป็น การดําเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 14 เรื่อง จำนวน 21 ราย และการดําเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 12 เรื่อง จำนวน 40 ราย และมีจำนวนเคสที่ทำการประชาสัมพันธ์ 96 ราย รวมเคสที่ดำเนินการแล้ว 157 ราย โดยมีจำนวนเป้าหมายที่เข้าทำการตรวจค้นตามหมายศาล 53 หมาย”

“ด้านผลการดำเนินงานช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (1 ม.ค.-30 พ.ย. 63) มีการจับกุมผู้โพสต์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ไปแล้ว 20 ครั้ง จำนวน 104 ราย รวมทั้งเห็นแนวโน้มการกระทำผิดในคดีประเภทนี้เริ่มลดลง ซึ่งเป็นผลจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็ง”

“สำหรับการจัดสัมมนาสร้างการรับรู้ฯ ที่ผ่านมา 3 ครั้ง ได้รับข้อเสนอแนะที่น่าสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ได้แก่ ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับทางการแพทย์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ควรประสานงานอย่างจริงจังกับสื่อรายใหญ่ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ในการกระจายข่าวสารสร้างการรับรู้ในสังคมได้ ควรมีวิธีการสอนให้ผู้ปกครองทราบวิธีปิดกั้น โฆษณาในเฟซบุ๊กที่เกี่ยวข้องกับเว็บโป๊ เว็บพนัน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึง เป็นต้น”


“ขณะที่ ในส่วนของเครือข่ายผู้ประสานงาน ได้นำเสนอความต้องการเพื่อปรับปรุงระบบประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานด้านข่าวปลอม โดยเฉพาะการพัฒนาฟังก์ชั่นที่สนับสนุนกระบวนการทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น สามารถ Login เข้าใช้งานระบบ และตอบแบบฟอร์มใช้งานผ่านทางโทรศัพท์เพื่อความสะดวก และแนะนำให้ควรมีการอัพเดตสถานะของเคส หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบกับหน่วยงานเจ้าของเรื่องนั้นๆ และเผยแพร่แล้ว เป็นต้น”

“ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีบทบาทต่อผู้บริโภคข่าวสารอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้จากหลายช่องทาง โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง แม้ว่าสื่อสังคมออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข่าวสาร อย่างไรก็ตามเราควรให้ความสำคัญและระมัดระวังอย่างมากในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งด้านของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการแชร์ข้อมูล”


“ดังนั้นเพื่อให้มีการใช้สื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน และสร้างสรรค์ สามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องผู้บริโภคควรเลือกเสพข่าวจากหลายช่องทาง และอยากรณรงค์ให้ประชาชนใช้วิธีการ 12 ข้อดังต่อไปนี้ ในการตรวจสอบข่าวปลอม ได้แก่ 
  1.อ่านข่าวทั้งหมดโดยไม่เชื่อพาดหัวข่าวเพียงอย่างเดียว 
  2. ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่นำมาเผยแพร่ 
  3. ตรวจสอบแหล่งที่มาตัวตนของผู้เขียน 
  4. ดูความผิดปกติของตัวสะกดภาษาที่ใช้หรือการเรียบเรียง 
  5. พิจารณาภาพประกอบข่าว 
  6. ตรวจสอบวันที่ของการเผยแพร่ข่าว 
  7. ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้ 
  8. หาข้อมูลเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น 
  9. ตรวจสอบว่าข่าวสารที่ส่งต่อกันมามีวัตถุประสงค์ใด 
  10. พิจารณาความสมเหตุสมผลของข่าว 
  11. ตรวจสอบอคติของตนเอง  
  12. หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ”


“ในปี 2564 กระทรวงดิจิทัลฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เตรียมแผนการดำเนินการสร้างการรับรู้เท่าทันข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเติมความรู้โดยจะผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เช่น วิดีโอต่างๆ ที่สอดคล้องกับ 4 กลุ่มข่าว, สื่อไวรัลที่อยู่ในกระแสของสังคม ,พัฒนาระบบในการใช้ตรวจสอบข่าวปลอมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามยุคสมัย และขอความร่วมมือกับสำนักข่าว เป็นต้น”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here