วช. หนุนทุนวิจัย ยกระดับสมุนไพรไทยอบแห้ง ม.ศิลปากร ด้วยพาราโบลาโดม สร้างรายได้บ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วช. หนุนทุนวิจัย ยกระดับสมุนไพรไทยอบแห้ง ม.ศิลปากร ด้วยพาราโบลาโดม สร้างรายได้บ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี


ชุมชนสมุนไพรบ้านดงบัง ต. ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เป็นชุมชนเล็ก ๆ เพียง 15 ครัวเรือน ที่ทำการผลิตสมุนไพรไทยจุลินทรีย์เพื่อจำหน่ายมาแล้วกว่า 20 ปี อาทิ ฟ้าทลายโจร หญ้าปักกิ่ง เพชรสังฆาต อัญชัน ว่านนางคำ ว่านหางจระเข้ และกวาวเครือขาว เป็นต้น เป็นแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรชั้นดีให้กับ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ราว 14 ตันต่อปี นอกจากนี้ทางชุมชนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ BDB (บ้านดงบัง)


ดร.ศราวุธ ภู่ไพจิตร์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยการเพิ่มสมรรถนะการผลิตสมุนไพรอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลาโดม กล่าวว่า
ได้ดำเนินการติดตั้งระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลาโดมให้กับชุมชนสมุนไพรบ้านดงบัง โดยทดลองกับการอบแห้งมะระขี้นก ที่กำลังเป็นที่ต้องการจำนวนมากของตลาดในขณะนั้น ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และความช่วยเหลือ จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในแง่ของการร่วมประสานงานกับพื้นที่และทำความเข้าใจกับชุมชน...


...จากเดิม ที่เกษตรกรชุมชนบ้านดงบังทำการตากแห้งสมุนไพร ประเภทใบและดอก ในอาคารคล้ายโกดังขนาดใหญ่ หลังคาโปร่งแสง โดยวางบนตะแกรงเพื่อให้แห้ง และนำไปอบในตู้อบลมร้อนที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงก่อนบรรจุ แต่กรณีของมะระขี้นก จะใช้เพียงการอบในตู้อบลมร้อน ต่อเนื่อง 7-8 ชั่วโมง เนื่องจากมีชิ้นที่หนากว่าสมุนไพรชนิดอื่น นักวิจัยจึงปรับมาใช้การอบลมร้อนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำเข้าอบในพาราโบลาโดมต่ออีก 2-3 วัน (ขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงแดด) เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงลง ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความชื้นเพียง 11% ค่าแอคทิวิตี้ของน้ำอยู่ที่ 0.44 และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อยู่ที่ 2.7x102 CFU/g ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชน...

...โดยในช่วงเดือนสุดท้ายของโครงการ พบว่าชุมชนได้ทำการอบแห้งมะระขี้นกจำนวน 1.8 ตัน ใน 8 รอบการผลิต ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอบแห้งสำหรับส่งผลิตยาสมุนไพร จำนวน 100 กิโลกรัม สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนประมาณ 58,000 บาท และลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ประมาณ 4,700 บาท นอกจากนี้ ชุมชนยังมีแนวคิดที่จะนำระบบอบแห้งพาราโบลาโดมนี้ ไปใช้อบแห้งผลไม้และแปรรูปไว้รองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต โดยได้รับการอบรมจากทีมนักวิจัย ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย นวัตกรรมนี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับกระบวนการผลิตสมุนไพรอบแห้งให้มีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนสมุนไพรบ้านดงบัง ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน จนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความมั่นคงทางด้านยา และสมุนไพรของไทยที่ควรได้รับการสนับสนุนต่อไป

ดร.ศราวุธ เล่าต่อว่า ได้ทำการสำรวจตำแหน่งการวางพื้นที่ระบบอบแห้ง ขนาด 8 x 12.4 ตารางเมตร ในพื้นที่โล่งรับแสงแดด โดยทางชุมชนยินดีรื้อถอนอาคารเดิม และปรับพื้นที่เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ระบบอบแห้งที่ติดตั้งอาศัยหลักการ เรือนกระจก (greenhouse) อ้างอิงแบบและคุณลักษณะวัสดุตามแบบมาตรฐาน ขนาด พพ.2 ของกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน หรือที่รู้จักในนาม พาราโบลาโดม ซึ่งจะมีโครงสร้างรูปพาราโบลา ปิดคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตเป็นหลังคา ที่มีการรับประกันการใช้งาน 10 ปี เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนต ไปยังผลิตภัณฑ์ในชั้นวาง บางส่วนจะตกกระทบพื้นของระบบอบแห้ง รังสีอินฟราเรดในแสงแดดและที่สะท้อนออกมาจากพื้นจะสะท้อนภายในระบบ เนื่องจากไม่สามารถผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนตออกไปได้ ทำให้ภายในระบบอบแห้งกักเก็บความร้อนและมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำในผลิตภัณฑ์ที่ระเหยออกมา จะถูกพัดลมดูดอากาศด้านหลังของระบบอบแห้งดูดออกไปภายนอก ในขณะที่อากาศจากภายนอกจะไหลเข้ามาแทนที่ทางช่องอากาศด้านหน้าระบบ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ ในโครงการนี้ชุมชนยังได้รับการอบรมการใช้งานและการดูแลรักษาระบบภายหลังการติดตั้ง จากทีมนักวิจัยผู้พัฒนาและออกแบบจากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า
วช. ได้จับมือกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในการบูรณาการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมในพื้นที่ของ กอ.รมน. อันเป็นฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here