กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 13 กรกฎาคม 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 13 กรกฎาคม 2564 จัดพิธีเจริญนวัคคหายุสมธัมม์ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนครกรุงเทพมหานคร
โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ และนายมานัส ทารัตน์ใจ ที่ปรึกษากรมการศาสนา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจให้พุทธศาสนิกชนที่เป็นพสกนิกรภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำ หลักธรรมมาปรับใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน มีความสามัคคี ปรองดอง ด้วยการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์มเจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงตั้งพระทัยช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเจ็บป่วย รวมถึงประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ทรงรับมูลนิธิและกองทุนต่างๆ ไว้ในพระอุปถัมภ์ เป็นจำนวนมาก อาทิ ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังได้ประทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนในพระอุปถัมภ์จำนวนหลายราย ซึ่งนักเรียนในพระอุปถัมภ์บางรายเป็นบุตรของผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือบิดามารดาประสบอุทกภัย ซึ่งนักเรียนในพระอุปถัมภ์เหล่านี้จะได้รับประทานทุนการศึกษาต่อเนื่องไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
การเจริญนวัคคหายุสมธัมม์ คือ การเจริญพระพุทธมนต์ที่มีจำนวนข้อธรรมเท่ากับจำนวนของกำลังนพเคราะห์ อันได้แก่ เทวดานพเคราะห์ ประจำวันทั้ง ๙ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ วันราหู (วันพุธกลางคืน) และวันที่สมมติอีก ๑ วัน ที่มีนามว่า พระเกตุ ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองบุคคลที่ไม่ทราบวันเกิด ในคัมภีร์โหราศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในวันทั้งเจ็ดนี้มีเทวดาคุ้มครองเกี่ยวข้องด้วยกำเนิดมนุษย์ อันอาจส่งผลให้เกิดคุณ เกิดโทษ ทำให้เกิดทุกข์ โศก โรคภัย หรือทำให้เกิดความสุข ความเจริญรุ่งเรือง และอายุยืนยาวหรือสั้นได้ ซึ่งตามโบราณประเพณี เมื่อบุคคลอันเป็นที่เคารพนับถือมีอายุครบปีนักษัตร หรือรอบปีที่เป็นวาระสำคัญๆ ควรที่จะได้มีการบำเพ็ญกุศลครั้งใหญ่ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ปราศจากโรคาพยาธิ มีความเจริญรุ่งเรือง อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ซึ่งเป็นเครื่องหมายคนดีตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น