วช. ต่อยอด “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วช. ต่อยอด “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว”


สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง และกลุ่ม 'คนพิการ' จากการสำรวจความพิการและทุพพลภาพของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนคนพิการในประเทศไทย ภาพรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ก็ยังพบความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนพิการในหลาย ๆ ด้าน โดยปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลในทางลบต่อสุขภาพของคนพิการ 

จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจึงสนับสนุนทุนวิจัยให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ดอน อิศรากร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้น “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” ที่เป็นนวัตกรรมจากการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้ทำงานได้เหมือนคนปกติ จนเป็นผลสำเร็จ


ดร.ดอน อิศรากร กล่าวว่า
รถต้นแบบคันแรกได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยการออกแบบให้เครื่องยนต์วางอยู่ด้านหน้า เพื่อให้พื้นที่ด้านหลังของตัวรถอยู่ต่ำ อีกทั้งยังออกแบบให้พื้นที่สำหรับรถเข็น ปรับขึ้นลงได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้คนพิการสามารถดันรถเข็นขึ้นไปบนตัวรถได้สะดวกที่สุด แต่การผลิตรถยนต์สามล้อสำหรับคนพิการ มีเงื่อนไขที่จำกัด ทั้งงบประมาณและเวลา ทำให้การออกแบบ ผลิตและทดสอบนั้นไม่สามารถทำได้ หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่นโครงสร้างที่ไม่มีถูกหลักจลนศาสตร์ของยานยนต์ การวางตำแหน่งของเครื่องยนต์ที่ไม่เหมาะสม รูปลักษณ์ภายนอกไม่มีความสวยงาม ไม่ปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถูกหลักเกณฑ์ของขนส่งหลายประการทำให้ไม่สามารถจนทะบียนได้ การผลิตรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลสำหรับคนพิการได้ถูกปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง จนมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม มีความปลอดภัย และผ่านการทดสอบตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมขนส่งทางบกทุกประการ จนสามารถจดทะเบียนได้ แต่ด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากําลังเติบโตอย่างยิ่งยวด ทําให้ผู้พิการสนใจและอยากเข้าถึง จึงมีแนวคิดในการออกแบบพัฒนาและผลิตรถสามล้อไฟฟ้าสําหรับคนที่พิการ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนพิการ อีกทั้งสร้างคุณค่าหรือสร้างความเท่า เทียมเทียมกันแก่คนพิการ ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นคนปกติ 

การออกแบบพัฒนาและผลิตรถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นทดแทนการดัดแปลงยานพาหนะอื่น ๆ โดยคนพิการหรือลดการนำเข้าสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่เป็นยานพาหนะสำหรับคนพิการ คือมีการออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน/องค์ประกอบของรถยนต์สามล้อทั้งหมดในประเทศ ทำการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้สามารถจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง เช่น ความสารถในการรับนํ้าหนัก, ความเร็ว, การไต่ทางลาด, วงเลี้ยว ทดสอบเชิงเทคนิคในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น กำลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า, อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน, การทดสอบความเร็วในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบการห้ามล้อในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบใช้งานตามภูมิภาคต่างๆ, ประสิทธิภาพของระบบจ่ายและชาร์จแบตเตอรี่ รวมถึงการออกแบบและพัฒนาวิธีการประจุแบตเตอรี่ทั้งแบบ Normal Charge หรือแบบ Quick Charge ชิ้นส่วนของรถยนต์สามล้อไฟฟ้า เป็นชิ้นส่วนที่หาได้ในประเทศเพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคต การออกแบบอุปกรกรณ์ชาร์จที่ตอบสนองการใช้งานกับระบบไฟฟ้าที่ใช้งานทั่วไป และการชาร์จแบตเตอรี่นั้น จะใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เช่น คอนเน็คเตอร์ ระบบชาร์จที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร


รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นนี้ ผ่านกระบวนการทดสอบในขณะที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก (คนนั่ง พร้อมเก้าอี้รถเข็นคนพิการ) 90 กิโลกรัม ได้ความเร็วสูงสุด 77 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว องค์ความรู้และต้นแบบที่เกิดขึ้นสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้


การผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เพื่อรองรับความต้องการของคนพิการที่มีความต้องการใช้ยานพาหนะในการเดินทางและดำเนินชีวิตแบบคนปกติ เช่น ใช้สำหรับเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจกรรมหรือกิจธุระต่าง ๆ ทำให้คนพิการไม่เป็นภาระของครอบครัว/สังคม ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการให้โอกาสทางสังคมแก่คนพิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here