แพทย์และนักวิจัยไทย เปิดเผยถึงผลงานวิจัยยาสมุนไพรไทยตำรับพันปี “ยาครอบไข้ตักศิลา”ที่มีชื่อการค้าว่า “ยาเคอร่า” จากคัมภีร์แผนไทยโบราณที่ชื่อ “คัมภีร์ตักศิลา” พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายด้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)เพื่อพัฒนาต่อยอดการสกัดเป็นสารบริสุทธิ์และยาแผนปัจจุบันต่อไป
นายแพทย์พงศ์ศํกดิ์ ตั้งคณา, นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล และนายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ และ ดร.ภัทร์ หนังสือ ร่วมกันแถลงผลการวิจัยในหลอดทดลองและรายงานการใช้ยาตำรับสมุนไพรครอบไข้ตักศิลา ทางคลีนิคในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 3091 ราย
โดยนายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูลได้เปิดเผยถึงผลการวิจัยในหลอดทดลองของตำรับยาสมุนไพรครอบไข้ตักศิลา พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายด้าน กล่าวคือ
1. พบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์หลักในการขยายตัวของไวรัสคือ main protease โดยตำรับยาสมุนไพรนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์หลักได้ถึง 100% ที่ความเข้มข้นเพียง 0.18 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ถือเป็นระดับความเข้มข้นที่ต่ำมาก โดยที่มีฤทธิ์ยับยั้งสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน คือ Lopinavir ถึง 1500 เท่า สูงกว่ายา Ritronavir ถึง 500 เท่า ซึ่งถือว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
2. พบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในการขยายตัวของไวรัสตัวที่ 2 คือ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่ายา Favipiravir ถึง 500% จึงถือเป็นยาต้านไวรัสชนิดเดียวในโลกที่มีกลไกการยับยั้งเอนไซม์ในการขยายตัวของไวรัสโควิด 19 ได้พร้อมกันถึง 2 กลไก
3. พบฤทธิ์ยับยั้งการขยายตัวของโคโรน่าไวรัสในเซลล์ โดยพบว่าในจานเพาะเชื้อทดลองที่มีการทำให้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสนั้น จานทดลองที่หยดสารสกัดตำรับยาสมุนไพรครอบไข้ตักศิลานี้ลงไป ไวรัสมีการหยุดการขยายตัวโดยพบว่าจานที่มีสารสกัดตำรับสมุนไพรนั้นมีไวรัสเพียง 600,000 copy ในขณะที่จานควบคุมที่ไม่มีสารสกัดนั้นไวรัสเพิ่มจำนวนเป็น 9,000,000 copy ซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน
4. พบฤทธิ์การยับยั้งการอักเสบที่ดีกว่ายา Diclofenac และยา Prednisolone เมื่อเทียบปริมาณการใช้ที่ปลอดภัย
5. พบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่มีค่า ORAC สูงถึง 81260 หน่วย
6. มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบหลายชนิด เช่น แคลเซี่ยม แมกเนเซี่ยม โปแตสเซี่ยม ซึ่งเมื่อละลายน้ำจะมีสภาพเป็นด่าง ช่วยลดภาวะ metabolic acidosis ในผู้ป่วยโรคโควิด 19
7. การทดสอบความเป็นพิษกับเซลล์ตับ เซลล์ไต และเซลล์เม็ดเลือดขาว พบว่ามีค่าความเป็นพิษต่ำ โดยต้องรับประทานในปริมาณสูงมากเช่น 2000 แคปซูล ต่อมื้อ จึงอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อเซลล์ตับ หรือเซลล์ไตได้ จึงมีความปลอดภัยสูง
8. การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูทดลอง พบว่ามีระดับค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ในระดับ category 5 โดยหนูทดลองจะต้องได้รับยาเกินกว่า 5000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จึงจะพบความเป็นพิษ
9. รายงานการวิเคราะห์ตัวสมุนไพร พบว่าไม่มีสารเสตียรอยด์ เช่น Dexamethasone ส่วนค่าโลหะหนักอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตราย
10. เป็นสมุนไพรกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดไข้
ดร.ภัทร์ หนังสือ แพทย์แผนไทย ได้เปิดเผยว่า ตนได้พัฒนาตำรับยาสมุนไพรเคอร่า จากตำรับยาครอบไข้ตักศิลา โดยได้เลือกสมุนไพร 9 ชนิด เป็นส่วนประกอบ นำมาผ่านกระบวนการสกัดด้วยความร้อนและความเย็น เพื่อกระตุ้นสารสำคัญในพืชสมุนไพรจนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งไวรัสได้เป็นผลสำเร็จ เคยได้ใช้ยาตำรับนี้รักษาโรคไข้หวัด เริม และงูสวัด เป็นต้น ซึ่งพบว่าได้ผลดี ต่อมาเมื่อสถานการณ์โรคโควิด 19 ระบาด จึงได้นำยาตำรับนี้มาใช้รักษากับผู้คนจำนวนมาก พบว่าได้ผลดี
ส่วนรายงานผลทางคลินิคของการใช้ในผู้ป่วย covid 19 นายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์หัวหน้าแพทย์ทีมวิจัย เปิดเผยว่า จากการใช้ยาสมุนไพรตำรับครอบไข้ตักศิลา กับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ที่เป็นผู้ป่วยสีเขียว และสีเหลือง สีเหลืองส้ม จำนวน 3091 ราย นั้นพบว่ายาตำรับนี้สัมฤทธิ์ผลในการรักษา 100% โดยไม่มีผู้ป่วยรายใด มีอาการลุกลาม จนต้องเข้า ICU หรือต้องใช้ท่อช่วยหายใจหรือเสียชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว นอกจากนั้นผู้ป่วยร้อยละ 75 จะหายป่วยภายในระยะเวลาเพียง 7 วัน โดยในช่วงเริ่มต้นการรักษานั้น มีผู้ป่วยจำนวน 1465 ราย คิดเป็นร้อยละ 47 มีอาการทางปอดคือเชื้อเริ่มลงปอดแล้ว ก่อนรับการรักษามีอาการไอ มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย หรือแน่นหน้าอก โดยผู้ป่วยที่รับการรักษานั้นมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึงกว่า 80 ปี โดยมีผู้ป่วยอายุเกินกว่า 60 ปี จำนวน 226 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 รวมทั้งมีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 9 ราย ซึ่งทุกรายหายเป็นปกติ แต่ต้องมีการติดตามผลหลังคลอดต่อไป
นอกจากนั้นมีผู้ป่วยจำนวน 572 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 เป็นผู้มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 1 โรคขึ้นไป เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ เป็นต้น ซึ่งทุกรายปลอดภัย ส่วนระยะเวลาการรักษานั้น ผู้ป่วยร้อยละ 75 จะหายภายใน 7 วัน ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะหายภายใน 16 วัน ซึ่งเราจะทำการติดตามผลต่อไปถึงภาวะหลังป่วยโควิด (Long Covid) ในคนไข้เหล่านี้ที่หายป่วยแล้วว่ามีอาการผิดปกติอย่างไรต่อไปหรือไม่ ในระยะ 1เดือน ถึง 1 ปี
ในการเก็บข้อมูลทางคลีนิคนั้น พบว่ายาสมุนไพรตำรับนี้ไม่พบอันตรกริยากับยาแผนปัจจุบันที่คนไข้ใช้อยู่, ไม่พบผลข้างเคียงต่อตับและไตของคนไข้ที่ใช้ยา ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ พบจำนวน 5 รายจาก 3091 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.16 ซึ่งมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย คลื่นใส้ อาเจียน และพบว่าผู้ป่วย 100% มีความพึงพอใจในผลของการใช้ยา ว่าสามารถรักษาอาการให้หายเป็นปกติได้ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของโลกในการค้นพบยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ และรักษาโรค covid-19 ได้ และได้เก็บผลการรักษาทางคลีนิคในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนและยกระดับของงานวิจัยให้มีกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้นและหลากหลายขึ้น นับเป็นความหวังของประเทศไทยในการหาทางออกในการรักษาและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น