สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร จาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ให้ความสำคัญต่อการสร้างนักวิจัยและนักประดิษฐ์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา อันจะเป็นการสร้างและพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพในการเติบโตเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป
วช. ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องของ Thailand 4.0 และ BCG โมเดล 5 กลุ่ม ดังนี้ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์, ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ, ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยในปี 2564 มีผู้ได้รับรางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสายอุดมศึกษา มีดังนี้
-ระดับปริญญาตรี
1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ชลาศัยให้น้ำพืชและป้องกันดินเค็ม” ของ นายประกอบ เกิดท้วม และ นายสุรธัช พ่วงผจง แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ชุดตรวจการแพ้ยาคาร์บามาเซพีนสำหรับรักษาโรคลมชัก” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “บอลออโตเมติก ไร้ข้อติด กล้ามเนื้อมือยืดขยาย คลายตัวสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “บอลออโตเมติก ไร้ข้อติด กล้ามเนื้อมือยืดขยาย คลายตัวสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องอบแห้งเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวจากพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้” แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องการนำคืนแอลกอฮอล์จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้รังสีอาทิตย์ แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ
-ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
-ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงไมโครเอนแคปซูลน้ำมันกรดไขมันสายกลางเข้มข้นสำหรับแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก” แห่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร
2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “อุปกรณ์ให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำขนาดเล็ก” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าแบบไร้สายสำหรับวิเคราะห์สารอันตรายในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม” แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “RX-Shield: สารเคลือบป้องกันรังสีเอกซ์จากวัสดุคอมพอสิตยางธรรมชาติ” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ชลาศัยให้น้ำพืชและป้องกันดินเค็ม” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย “การพัฒนาอุปกรณ์ถ่างขยายหลอดลมจากวัสดุฉลาดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด” แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยหนังสือเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง” แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากสิ่งทอด้วยฟิล์มพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ชนิดสายยาวปานกลาง” แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านไทย” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
-ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนพลังงานชีวมวลเพื่อเพิ่มสมรรถนะโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย “ชุดทดสอบแอลกอฮอล์ในน้ำลาย” แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดี ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการนำทางโดยใช้สีดิจิทัลสำหรับพัฒนาทักษะปฏิบัติรำวงมาตรฐาน” แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากสิ่งทอด้วยฟิล์มพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ชนิดสายยาวปานกลาง” แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย: History of Art…การเดินทางของศิลปะ” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การมอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 วช. หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน อีกด้วย
การมอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 วช. หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น