พพ.ลงพื้นที่ จ.ราชบุรี เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาอย่างยั่งยืน - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2565

พพ.ลงพื้นที่ จ.ราชบุรี เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาอย่างยั่งยืน


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  กระทรวงพลังงาน (พพ.) สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  ลงพื้นที่ จ.ราชบุรี เยี่ยมชมพื้นที่นำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ณ โรงไฟฟ้าชุมชนโคราช จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านหนองกวาง และโรงไฟฟ้าชุมชนสุรินทร์ จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนปลูกหญ้าเนเปียร์บ้านห้วยปลากดเล็ก โดยมีนางสุภาพร เกาสังข์ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านหนองกวาง และนางสุภัชทรา นุชพันธ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกหญ้าเนเปียร์บ้านห้วยปลากดเล็ก และนายเตชธรรม แย้มพงษ์ ที่ปรึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านหนองกวาง ให้การต้อนรับ 


นายเรืองเดช ปั่นด้วง รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า
การลงพื้นที่ของ พพ.ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการเยี่ยมชมพื้นที่นำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก  จังหวัดราชบุรี โดย บริษัทโรงไฟฟ้าชุมชนโคราช จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านหนองกวาง  มีกำลังการผลิตติดตั้ง 3.5 เมกะวัตต์ (ปริมาณไฟฟ้าเสนอขาย 3 เมกะวัตต์)   ซึ่งปริมาณเชื้อเพลิงที่รับซื้อต่อโครงการ 3.25 ล้านตัน ตลอดอายุโครงการ และมีพื้นที่เพาะปลูกต่อโครงการ 1,800-2,000 ไร่  และบริษัท โรงไฟฟ้าชุมชนสุรินทร์ จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนปลูกหญ้าเนเปียร์บ้านห้วยปลากดเล็ก มีกำลังการผลิตติดตั้ง 2.5 เมกะวัตต์ (ปริมาณไฟฟ้าเสนอขาย 2 เมกะวัตต์)  มีปริมาณเชื้อเพลิงที่รับซื้อต่อโครงการ 2.34 ล้านตัน ตลอดอายุโครงการ  พื้นที่เพาะปลูกต่อโครงการ 1,300-1,400 ไร่ ณ บริษัท โรงไฟฟ้าชุมชนสุรินทร์ จำกัด ทำให้เกิดความร่วมมือของสมาชิกชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า สร้างโอกาส  เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

นายเรืองเดช กล่าวต่อไปว่า ได้จัดทำโครงการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ตามนโยบายส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชน วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้และผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากชุมชน  


ในส่วนของวิสาหกิจชุมชนนั้นได้เปิดรับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนครบแล้ว 200  ราย  พร้อมสร้างความมั่นใจ ความเข้าใจให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ซึ่งส่วนใหญชาวบ้านมีอาชีพปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง และบางส่วนปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์อยู่ ทางวิสาหกิจชุมชนจึงมีความตื่นเต้นกับการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เป็นอย่างมาก  เพราะนอกจากจะมีตลาดรองรับหญ้าเนเปียร์ในรูปของเกษตรพันธะสัญญานานถึง 20 ปีแล้ว  แต่ละวิสาหกิจชุมชนยังได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้ถือหุ้นบุริมสิทธิอีก 10% 


นายเตชธรรม แย้มพงษ์ ที่ปรึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านหนองกวาง เปิดเผยว่า
ในปัจจุบันสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหลายรายที่ปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อขายปศุสัตว์มีรายได้เฉลี่ย 24,000-25,000 บาท/ไร่/ปี ในขณะที่ปลูกอ้อยนั้นมีรายได้เฉลี่ย 12,000 บาท/ไร่/ปี  แต่ต้นทุนในการปลูกอ้อยกับปลูกหญ้ากลับใกล้กันคือ 10,000 บาท/ไร่/ปี  เมื่อมีโรงไฟฟ้าชุมชนฯ มารับซื้อก็จะยิ่งทำให้มีตลาดเพิ่ม  ทำให้คาดหมายได้ว่าในอนาคตจะมีผู้หันมาปลูกหญ้าเนเปียร์กันมากขึ้น 


นางนิตยา ชุ่มภักดี เจ้าของแปลงหญ้าเนเปียร์รายหนึ่ง เปิดเผยว่า
ตนเองปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ย 30,000 บาท หากโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เปิดดำเนินการ  ตนก็จะลดพื้นที่ปลูกอ้อยมาปลูกหญ้าแทน 


นายอดิศักดิ์  ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย  ค้นคว้าพลังงาน  กล่าวในตอนท้ายว่า
  ปัจจุบันมีผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ที่ผ่านการคัดเลือกเพียง 43 แห่ง  ซึ่งในอนาคตจะต้องมีจำนวนโรงไฟฟ้าชุมชนฯเพิ่มขึ้นมากกว่านี้  ทำให้มีความต้องการหญ้าเนเปียร์จำนวนมาก ประกอบกับเป็นเกษตรพันธะสัญญาที่มั่นคงถึง 20 ปี ทำให้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะมีการลดพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาด้านราคาไม่แน่นอน  อย่างอ้อย  ข้าวและข้าวโพด  อาจจะส่งผลให้ในอนาคตเมื่อการผลิตลดลง  กลับจะทำให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจเหล่านั้นมีราคาสูงขึ้น  เป็นผลดีต่อการเกษตรโดยรวมของประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here