กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดงาน “เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์” ครั้งที่ 3 ร่วมพลังขับเคลื่อนสู่ประเทศแห่งสังคมการเรียนรู้ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดงาน “เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์” ครั้งที่ 3 ร่วมพลังขับเคลื่อนสู่ประเทศแห่งสังคมการเรียนรู้


กรุงเทพฯ- กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงาน “เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum ๒๐๒๒” ครั้งที่ 3 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ณ ห้อง Le Lotus 1 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งในระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค ท่ามกลางยุคสังคมไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการรับรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในสังคม การเมืองการปกครอง เพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์อย่างถูกต้องและปลอดภัย


ร้อยโทธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงการจัดงาน
“เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum ๒๐๒๒” ครั้งที่ 3 ในฐานะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน ร่วมพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งในระดับจังหวัด และระดับภูมิภาคว่า ปัจจุบันในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, TikTok ดังนั้น สื่อจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในสังคม รวมถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ การส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทัน มีวิจารณญาณในการบริโภคสื่อ และมีภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรม ให้มีมากขึ้นในสังคม จึงมีความสำคัญอย่างมากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของคนในสังคม จากทุกภาคส่วน และทุกภูมิภาคในประเทศไทย งานเสวนาที่จัดขึ้นมาจึงเป็นรากฐานในการสร้างปรากฏการณ์ในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในยุคประเทศไทย

“โอกาสนี้ผมขอขอบคุณ คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum ๒๐๒๒ ครั้งนี้” ร้อยโทธนกฤษฏ์ กล่าวทิ้งท้าย


ด้าน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีประธานและคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ โดยคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 21 (13) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 ตามวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดตั้งของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่กำหนดให้มีการส่งเสริม ให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ปัจจุบันคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ก่อตั้งขึ้นมา 2 ปี โดยมีเป้าหมายหรืออำนาจหน้าที่ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้จากสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดังนี้
   1.ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   2.ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และรายงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ ให้รับทราบ

นอกจากนี้ในส่วนของแนวทางในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ได้กำหนดแนวทางในดำเนินงาน 9 ข้อ คือ
   1.พัฒนาคนให้คิดสร้างสรรค์ มีทักษะการเล่าเรื่องผ่านสื่อ การผลิตสื่อ เพื่อสร้างนวัตกรรมตั้งแต่ระดับเยาวชนไปจนถึงผู้ผลิตสื่ออาชีพ
   2.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ความรู้เท่าทันสื่อ และการคิดเชิงวิพากษ์
   3.เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้ามาย และปัญหาที่ควรแก้ไข มีความเข้าใจชุมชม สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
   4.สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ
   5.สร้างโอกาส องค์ความรู้ และการเรียนรู้จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   6.ยกย่องและให้รางวัลแก่ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   7.ส่งเสริมการเผยแพร่ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสาธารณประโยชน์
   8.สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนการเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนด้านนวัตกรรมสื่อจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   9.ติดตามและประเมินผลการสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์


“กิจกรรมเสวนาในวันนี้เราจัดขึ้นเพื่อมาแสดงผลงานว่า เราได้ทำอะไรบ้าง และนวัตกรรมสื่อต้องช่วยเหลือสังคม ไม่ใช้ซ้ำเติมปัญหา และเราจะรู้เท่าทัน Deep Fake อย่างแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ถือเป็นแนวทางในการทำงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนสังคมไทย ชีวิตของผู้คน ให้ได้รับการบริโภคข่าวสารที่ถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศแห่งการเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ” ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าวสรุป


ภายในงานยังมีคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกียรติมาร่วมงานและถ่ายภาพร่วมกัน ประกอบด้วย นางสาวนวลวรรณ ดาระสวัสดิ์ รองประธานอนุกรรมการ, นายกฤษกร รอดช้างเผื่อน อนุกรรมการ, นางปรียนันท์ มงคลศรี อนุกรรมการ, นายธีรภัทร เจริญสุข อนุกรรมการ, ดร.ณฤดี เคียงศิริ อนุกรรมการ


จากซ้าย: นายกฤษกร รอดช้างเผื่อน, นายธีรภัทร เจริญสุข และ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต


ต่อจากนั้นเป็นการเสวนาและนำเสนอผลงานที่โดดเด่น ได้แก่
   - โครงการพัฒนานวัตกรทางการสื่อสาร โดย บริษัท เทลสกอร์ จำกัด
   - โครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (The Rumor Villages) โดย ผศ.ภณิดา แก้วกูร

   - โครงการจ้างผลิตบอร์ดเกมบันไดงูเพื่อลดการบูลลี่ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย ทีมมูอัลลิม
   - โครงการ iTop โดย บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด
   - โครงการ เก๋าชนะ โดย บริษัท ทูลมอโร จำกัด


   - โครงการจ้างผลิตสื่อเพื่อสื่อสารเรื่องนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย บริษัท เฟรนด์ แอนด์ มานะ จำกัด
   - โครงการ Landlab โดย นางสาวกุสุมาวดี กรองทอง

ส่วนในภาคบ่ายเป็นการนำเสนอผลงานวิจัย คือ
   • โครงการจ้างถอดองค์ความรู้นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ : โดย ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม
   • โครงการจ้างวิจัยประเมินผลการสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ : โดย ดร.วิโรจน์ สุทธิสีมา
   
ต่อด้วยการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์” โดย
   • ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
   • ผศ.ภณิดา แก้วกูร ผู้ดำเนินโครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (The Rumor Villages)
   • คุณสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ดำเนินโครงการเก๋าชนะ
   • คุณกุสุมาวดี กรองทอง ผู้ดำเนินโครงการ Landlab
   • ทีมมูอัลลิม ผู้ดำเนินโครงการจ้างผลิตบอร์ดเกมบันไดงูเพื่อลดการบูลลี่ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้


ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ที่ thaimediafund.or.th และเฟซบุ๊ก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

#MediaInnovationsShowcaseForum2022 #ThaiMediaFund #กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here