7 CBS Series 7 ทางรอดวิกฤตเงินเฟ้อ #รู้แล้วรอด ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565

7 CBS Series 7 ทางรอดวิกฤตเงินเฟ้อ #รู้แล้วรอด ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน


ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งสัญญาณกระตุ้นทุกภาคส่วนตื่นตัวรับมือวิกฤตการเงิน ผ่านการจัดทำคลิปวิดิโอ 7 CBS Series 7 ทางรอดวิกฤตเงินเฟ้อ#รู้แล้วรอด ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ใน 7 เรื่องสำคัญ ตั้งแต่ เงินเฟ้อ ราคาพลังงาน อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท หนี้ครัวเรือน การออม และการลงทุน ดีเดย์เผยแพร่ Episode แรกในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 นี้


รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
จากสภาวะสถานการณ์และเศรษฐกิจในปัจจุบันสร้างความตระหนกให้กับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ SME ไปจนถึงระดับบุคคล สิ่งเหล่านี้คือความกังวลของทุกธุรกิจทุกคน ดังนั้นการตั้งรับอย่างถูกวิธี รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง คณะพาณิชยศาสตร์ฯ โดยคณาจารย์ภาควิชาการธนาคารและการเงิน จึงได้จัดทำคู่มือการดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินชีวิตอย่างไรให้รอดทุกเรื่องในท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งหมดนี้ กับ 7 CBS Series 7 ทางรอดวิกฤตเงินเฟ้อ#รู้แล้วรอด ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ใน 7 เรื่องสำคัญ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและนำไปใช้ได้จริง


รศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน กล่าวว่า
ปัจจุบันโควิดยังอยู่และสภาวะแวดล้อมก็ยังไม่ดีขึ้น ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแรงและเร็ว โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า ก็ยิ่งทวีความท้าทาย ถึงแม้มีการเปิดเมืองและการกลับมาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่ก็อาจไม่สามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะสภาวะความบอบช้ำอันมาจากการต่อสู้กับโควิดทำให้ภูมิคุ้มกันทางการเงินลดลง อีกทั้งยังต้องมาต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออีก ทำให้เกิดสิ่งที่กังวลมากมาย อาทิ ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเดิมทีประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำของรายได้สูงอยู่แล้ว ในสภาวะปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ไม่ว่าจะมาจากราคาของสินค้าและบริการ หรือต้นทุนทางการเงินสำหรับท่านที่มีหนี้ เมื่อรายได้ไม่โตแต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ก็ส่งผลต่อการออมและสะสมสินทรัพย์ และเมื่อมีเงินไม่พอใช้ก็จำเป็นต้องไปก่อหนี้ จนอาจตกอยู่ในวงจรหนี้ในที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตซ้ำซ้อน วิกฤตรายได้ วิกฤตเงินเฟ้อ วิกฤตหนี้ วิกฤตการออม และในกรณีที่มีการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม เช่น บริหารสภาพคล่องผิดพลาด ก่อหนี้ผิดประเภท ชะล่าใจไม่ออม หรือลงทุนในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยขยายผลทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จึงเป็นปัญหาของสังคมที่เราทุกคนต้องช่วยกันแก้


ดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ จากการจัดทำคลิป “รู้แล้วรอด” ทางทีมคณาจารย์ได้นำข้อมูลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหา พร้อมแนะนำเทคนิคการรับมือ ซึ่งรายละเอียดองค์ความรู้ที่จะเผยแพร่ประกอบด้วย Introduction EP. 7 เรื่อง รู้แล้วรอด โดย รศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.1 เงินเฟ้อ ของแพง ไม่หมดแรง ทำไง โดย ผศ.ดร.พรพิชยา กุวลัยรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.2 ดอกเบี้ยและภาระหนี้กับสถานการณ์เงินเฟ้อสูง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.3 วิกฤตพลังงานแพง ไปต่อหรือพอแค่นี้ รับมือยังไงไม่พัง โดย ผศ.ดร.อนิรุต พิเสกฎฐศลาศัย อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.4 ลงทุนสู้เงินเฟ้อ โดย ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.5 เงินเฟ้อกับอัตราแลกเปลี่ยน โดย ผศ.ดร.รัฐชัย ศีลาเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.6 หนี้มาเยือน เตือนกันไว้ รศ.ดร.คณิสร์ แสงโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน
   - EP.7 ออมและ ออมอย่ายอมลด โดย ดร.ธนวิต แซ่ซือ อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน

โดยจะเปิดตัว Episode แรกในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 10.30 น.ผ่านทาง facebook และ Youtube Live ได้ทาง F: CBS Chula และ CBS Academy

รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปิดท้ายว่า การจัดทำ CBS 7 Series นี้ มุ่งหวังให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น เพราะ “เชื้อโรค” ทางการเงินเหล่านี้ลุกลามไวและแผ่ไปได้ทุกกระเบียดนิ้วของสังคม การป้องกัน “ไม่ให้ติดเชื้อจนเรื้อรัง” จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ความเหลื่อมล้ำของสังคมไม่ขยายไปไกลกว่าที่เป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here