กรุงเทพฯ, 20 กันยายน 2556 – ทัพนักกอล์ฟสมัครเล่นสาวระดับแถวหน้าของภูมิภาคนำโดยมือท็อป 100 ของโลก 22 ราย ตอบรับร่วมชิงชัยศึก “วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก” ครั้งที่ 4 ณ สนามสยามคันทรีคลับ วอเตอร์ไซด์ พัทยา ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ อิม จียู มืออันดับ 8 สมัครเล่นโลกจากเกาหลีใต้ เป็นมือวางอันดับสูงสุดในการแข่งขันปีนี้ แต่นักกอล์ฟที่ได้รับการจับมามองในการแข่งครั้งนี้คือ ซิม-ณัฐกฤตา วงศ์ทวีลาภ นักกอล์ฟสมัครเล่นทีมชาติไทยมืออันดับ 48 ของโลก ที่หวังแก้มือจากการพลาดแชมป์ในการแข่งขันที่อาบูดาบีเมื่อปีก่อน
โดยในการแข่งขันปีที่แล้ว ณัฐกฤตา ออกนำตั้งแต่รอบแรกโดยมีสกอร์นำอยู่ 3 สโตรกเมื่อจบรอบที่สาม ก่อนจบวันสุดท้ายที่อันดับสองร่วมกับ กัญจน์ บรรณบดี และเคลซีย์ เบนเน็ตต์ จากออสเตรเลีย กลายเป็น มิซูกิ ฮาชิโมโต้ จากญี่ปุ่นที่แซงเข้าป้ายคว้าแชมป์ไปครอง
สำหรับ ซิม-ณัฐกฤตา เป็นหนึ่งในนักกอล์ฟสมัครเล่นสาวไทย 8 คน ที่ลุ้นคว้าแชมป์ดับเบิลยูเอเอพีในปีนี้ ตามรอย “โปรจีน” อาฒยา ฐิติกุล แชมป์คนแรกของรายการนี้เมื่อปี 2018 ที่ประเทศสิงคโปร์
นักกอล์ฟมือสมัครเล่นวัย 19 จากกรุงเทพฯ กล่าวว่า “นักกอล์ฟหญิงของไทยแกร่งขึ้นมากในตอนนี้ เราไม่เคยขาดแรงบันดาลใจเลย เริ่มตั้งแต่นักกอล์ฟรุ่นพี่อย่าง เอรียาและโมรียา จุฑานุกาล มาจนถึง แพตตี้ ธวัชธนกิจ และ อาฒยา เรามีนักกอล์ฟซูเปอร์สตาร์ที่เป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยมให้กับพวกเรามาตลอด กอล์ฟดับเบิลยูเอเอพี เป็นการแข่งขันรายการใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นโอกาสสำคัญสำหรับพวกเราในช่วงเริ่มต้นอาชีพนักกอล์ฟ เราทุกคนล้วนใฝ่ฝันถึงการลงเล่นรายการเมเจอร์ และแชมป์รายการนี้จะได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันในศึกเมเจอร์ถึง 2 รายการจากทั้งหมด 5 รายการในปีหน้า”
ทางด้านนักกอล์ฟไทยอีก 7 คนที่ร่วมแข่งขันกอล์ฟวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ในปีนี้ ประกอบด้วย รีน่า ทาเทมัตสึ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา, ธเกล้า จีระวิวิธพร มืออันดับ 114 สมัครเล่นโลก, พิมพ์พิศา รับรอง, นวพร สุนทรียภาส, สุวิชยา วินิจชัยธรรม, อชิรญาณ์ ศรีวงษ์ และ แอลล่า แกลิทสกีย์ ที่ทำผลงานผ่านเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้ายในการแข่งขัน อาร์แอนด์เอ เกิร์ลส์ อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ที่สนามคาร์นุสตี้ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่แล้ว
ด้านญี่ปุ่นที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้มา 2 ครั้ง จาก ยูกะ ยาสุดะ ในปี 2019 และฮาชิโมโต้ ปี 2021 ส่งนักกอล์ฟร่วมชิงชัย 6 ราย นำโดย ซากิ บาบะ มืออันดับ 17 สมัครเล่นโลก ที่เพิ่งสร้างผลงานสร้างชื่อในเวทีระดับนานาชาติด้วยการชนะคู่แข่งขาดลอย 11 และ 9 ในรอบชิงชนะเลิศกอล์ฟ ยูเอส วีเมนส์ อเมเจอร์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
โดยก่อนคว้าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ อเมเจอร์ บาบะ วัย 17 ปี ชนะเลิศรายการ คันโตะ จูเนียร์ แชมเปี้ยนชิพ ที่ญี่ปุ่น และมาตอกย้ำสถานะดาวรุ่งพุ่งแรงด้วยการนำทีมชาติญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขัน เวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปี้ยนชิพ ที่ฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนประเภทบุคคลเธอจบด้วยผลงานอันดับ 4
นอกจากนี้บาบะ ยังเป็นหนึ่งใน 4 นักกอล์ฟสมัครเล่นที่ผ่านการตัดตัวในการแข่งขันกอล์ฟ ยูเอส วีเมนส์ โอเพน โดยจบผลงานอันดับ 29 ร่วม เจ้าตัวกล่าวว่า “มีความสุขมากกับฟอร์มการเล่นของตัวเอง และตั้งเป้าคว้าแชมป์ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ไม่ใช่แค่เพื่อได้สิทธิ์ลงเล่นรายการเมเจอร์เท่านั้น แต่เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศญี่ปุ่น เพราะแชมป์สองครั้งล่าสุดมาจากประเทศเรา หากฉันสามารถต่อยอดความสำเร็จคว้าแชมป์เป็นคนที่ 3 จะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก”
สำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นญี่ปุ่นอีก 4 คนที่ร่วมชิงชัยในครั้งนี้ ล้วนอยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก รวมถึงแชมป์เก่า ฮาชิโมโต้ มืออันดับ 20, ฮานาโนะ มูกุรุมา มืออันดับ 23, เรกะ อราคาวา มืออันดับ 28 และ มิกุ อูเอตะ มืออันดับ 48
ทางด้าน เคลซีย์ เบนเน็ต จากออสเตรเลีย เตรียมกลับมาร่วมแข่งขันในปีนี้เช่นกัน และหวังทำผลงานได้ดีกว่าครั้งก่อนที่อาบูดาบี โดยนักกอล์ฟอันดับ 82 สมัครเล่นโลกมาพร้อมกับ เคอร์สเท่น รูดลีย์ มืออันดับ 34 เพื่อนร่วมชาติดีกรีแชมป์ อิงลิช วีเมนส์ อเมเจอร์ ปี 2021 ทั้งคู่ลุ้นสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้เล่นชาวออสซี่คนแรกที่คว้าแชมป์ดับเบิลยูเอเอพี
ทั้งนี้การแข่งขันกอล์ฟ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นจากความร่วมมือของอาร์แอนด์เอ และสมาพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับนักกอล์ฟเยาวชนรุ่นใหม่ และเป็นเวทีมอบโอกาสให้ผู้ที่คว้าแชมป์ ได้ร่วมแข่งขันรายการเมเจอร์หญิง 2 รายการ และรายการสมัครเล่นระดับแนวหน้าของโลก
โดยแชมป์รายการนี้จะได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์ 2 รายการ ได้แก่ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น และ อามังดี เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ รวมถึงได้สิทธิ์รับเชิญร่วมแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการใหญ่อย่าง ออกัสต้า เนชั่นแนล วีเมนส์ อเมเจอร์ หรือ เอเอ็นดับเบิลยูเอ และกอล์ฟแอลพีจีเอทัวร์รายการ ฮานา ไฟแนลเชียล กรุ๊ป แชมเปี้ยนชิพ
มาร์ติน สลัมเบอร์ส ประธานบริหารของอาร์แอนด์เอ เผยว่า “เอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในวงการกอล์ฟโลกและผลิตนักกอล์ฟฝีมือดีสู่เวทีการแข่งขันกอล์ฟหญิงระดับโลกมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา”
“กอล์ฟรายการ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก กลายเป็นที่ยอมรับในฐานะเป็นเวทีการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการสำคัญที่นักกอล์ฟปรารถนาจะคว้าแชมป์มากที่สุดในภูมิภาคนี้ และมีบทบาทสำคัญกับเรื่องราวความสำเร็จของนักกอล์ฟหลายคนรวมถึง อาฒยา ฐิติกุล, ยูกะ ซาโซะ และแพตตี้ ธวัชธนกิจ ผมมั่นใจว่าแชมป์คนใหม่ของเราในการแข่งขันที่สนามสยามคันทรีคลับจะทำให้พวกเราภูมิใจในความสำเร็จของเธอเช่นกัน”
ด้านไทมูร์ ฮัสซัน อามิน ประธานสมาพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก เผยว่า “จากรายชื่อนักกอล์ฟที่ร่วมแข่งขันในศึกวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ปีนี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงศักยภาพที่เรามีในภูมิภาคแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม งานของเรายังไม่จบและเราต้องทำงานต่อไปเพื่อพัฒนาวงการกอล์ฟหญิงในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของเรา และการแข่งขันรายการดับเบิลยูเอเอพี ก็เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในเส้นทางดังกล่าว”
สำหรับการแข่งขันกอล์ฟรายการ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการโดย โรเล็กซ์, นิปปอน คาบายา โอฮาโย่ โฮลดิงส์, ทรัสต์ กอล์ฟ, ฮานา ไฟแนลเชียล กรุ๊ป และซัมซุง โดยมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันตลอด 4 วัน เข้าถึงกว่า 180 ล้านครัวเรือน รวมระยะเวลาการออกอากาศ 600 ชั่วโมง
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการแข่งขันกอล์ฟ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.randa.org/en/championships/womensamateurasiapacific
โดยในการแข่งขันปีที่แล้ว ณัฐกฤตา ออกนำตั้งแต่รอบแรกโดยมีสกอร์นำอยู่ 3 สโตรกเมื่อจบรอบที่สาม ก่อนจบวันสุดท้ายที่อันดับสองร่วมกับ กัญจน์ บรรณบดี และเคลซีย์ เบนเน็ตต์ จากออสเตรเลีย กลายเป็น มิซูกิ ฮาชิโมโต้ จากญี่ปุ่นที่แซงเข้าป้ายคว้าแชมป์ไปครอง
สำหรับ ซิม-ณัฐกฤตา เป็นหนึ่งในนักกอล์ฟสมัครเล่นสาวไทย 8 คน ที่ลุ้นคว้าแชมป์ดับเบิลยูเอเอพีในปีนี้ ตามรอย “โปรจีน” อาฒยา ฐิติกุล แชมป์คนแรกของรายการนี้เมื่อปี 2018 ที่ประเทศสิงคโปร์
นักกอล์ฟมือสมัครเล่นวัย 19 จากกรุงเทพฯ กล่าวว่า “นักกอล์ฟหญิงของไทยแกร่งขึ้นมากในตอนนี้ เราไม่เคยขาดแรงบันดาลใจเลย เริ่มตั้งแต่นักกอล์ฟรุ่นพี่อย่าง เอรียาและโมรียา จุฑานุกาล มาจนถึง แพตตี้ ธวัชธนกิจ และ อาฒยา เรามีนักกอล์ฟซูเปอร์สตาร์ที่เป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยมให้กับพวกเรามาตลอด กอล์ฟดับเบิลยูเอเอพี เป็นการแข่งขันรายการใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นโอกาสสำคัญสำหรับพวกเราในช่วงเริ่มต้นอาชีพนักกอล์ฟ เราทุกคนล้วนใฝ่ฝันถึงการลงเล่นรายการเมเจอร์ และแชมป์รายการนี้จะได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันในศึกเมเจอร์ถึง 2 รายการจากทั้งหมด 5 รายการในปีหน้า”
ทางด้านนักกอล์ฟไทยอีก 7 คนที่ร่วมแข่งขันกอล์ฟวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ในปีนี้ ประกอบด้วย รีน่า ทาเทมัตสึ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา, ธเกล้า จีระวิวิธพร มืออันดับ 114 สมัครเล่นโลก, พิมพ์พิศา รับรอง, นวพร สุนทรียภาส, สุวิชยา วินิจชัยธรรม, อชิรญาณ์ ศรีวงษ์ และ แอลล่า แกลิทสกีย์ ที่ทำผลงานผ่านเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้ายในการแข่งขัน อาร์แอนด์เอ เกิร์ลส์ อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ ที่สนามคาร์นุสตี้ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่แล้ว
ด้านญี่ปุ่นที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้มา 2 ครั้ง จาก ยูกะ ยาสุดะ ในปี 2019 และฮาชิโมโต้ ปี 2021 ส่งนักกอล์ฟร่วมชิงชัย 6 ราย นำโดย ซากิ บาบะ มืออันดับ 17 สมัครเล่นโลก ที่เพิ่งสร้างผลงานสร้างชื่อในเวทีระดับนานาชาติด้วยการชนะคู่แข่งขาดลอย 11 และ 9 ในรอบชิงชนะเลิศกอล์ฟ ยูเอส วีเมนส์ อเมเจอร์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
โดยก่อนคว้าแชมป์ยูเอส วีเมนส์ อเมเจอร์ บาบะ วัย 17 ปี ชนะเลิศรายการ คันโตะ จูเนียร์ แชมเปี้ยนชิพ ที่ญี่ปุ่น และมาตอกย้ำสถานะดาวรุ่งพุ่งแรงด้วยการนำทีมชาติญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขัน เวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปี้ยนชิพ ที่ฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนประเภทบุคคลเธอจบด้วยผลงานอันดับ 4
นอกจากนี้บาบะ ยังเป็นหนึ่งใน 4 นักกอล์ฟสมัครเล่นที่ผ่านการตัดตัวในการแข่งขันกอล์ฟ ยูเอส วีเมนส์ โอเพน โดยจบผลงานอันดับ 29 ร่วม เจ้าตัวกล่าวว่า “มีความสุขมากกับฟอร์มการเล่นของตัวเอง และตั้งเป้าคว้าแชมป์ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ไม่ใช่แค่เพื่อได้สิทธิ์ลงเล่นรายการเมเจอร์เท่านั้น แต่เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศญี่ปุ่น เพราะแชมป์สองครั้งล่าสุดมาจากประเทศเรา หากฉันสามารถต่อยอดความสำเร็จคว้าแชมป์เป็นคนที่ 3 จะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก”
สำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นญี่ปุ่นอีก 4 คนที่ร่วมชิงชัยในครั้งนี้ ล้วนอยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก รวมถึงแชมป์เก่า ฮาชิโมโต้ มืออันดับ 20, ฮานาโนะ มูกุรุมา มืออันดับ 23, เรกะ อราคาวา มืออันดับ 28 และ มิกุ อูเอตะ มืออันดับ 48
ทางด้าน เคลซีย์ เบนเน็ต จากออสเตรเลีย เตรียมกลับมาร่วมแข่งขันในปีนี้เช่นกัน และหวังทำผลงานได้ดีกว่าครั้งก่อนที่อาบูดาบี โดยนักกอล์ฟอันดับ 82 สมัครเล่นโลกมาพร้อมกับ เคอร์สเท่น รูดลีย์ มืออันดับ 34 เพื่อนร่วมชาติดีกรีแชมป์ อิงลิช วีเมนส์ อเมเจอร์ ปี 2021 ทั้งคู่ลุ้นสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้เล่นชาวออสซี่คนแรกที่คว้าแชมป์ดับเบิลยูเอเอพี
ทั้งนี้การแข่งขันกอล์ฟ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นจากความร่วมมือของอาร์แอนด์เอ และสมาพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับนักกอล์ฟเยาวชนรุ่นใหม่ และเป็นเวทีมอบโอกาสให้ผู้ที่คว้าแชมป์ ได้ร่วมแข่งขันรายการเมเจอร์หญิง 2 รายการ และรายการสมัครเล่นระดับแนวหน้าของโลก
โดยแชมป์รายการนี้จะได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์ 2 รายการ ได้แก่ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น และ อามังดี เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ รวมถึงได้สิทธิ์รับเชิญร่วมแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการใหญ่อย่าง ออกัสต้า เนชั่นแนล วีเมนส์ อเมเจอร์ หรือ เอเอ็นดับเบิลยูเอ และกอล์ฟแอลพีจีเอทัวร์รายการ ฮานา ไฟแนลเชียล กรุ๊ป แชมเปี้ยนชิพ
มาร์ติน สลัมเบอร์ส ประธานบริหารของอาร์แอนด์เอ เผยว่า “เอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในวงการกอล์ฟโลกและผลิตนักกอล์ฟฝีมือดีสู่เวทีการแข่งขันกอล์ฟหญิงระดับโลกมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา”
“กอล์ฟรายการ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก กลายเป็นที่ยอมรับในฐานะเป็นเวทีการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการสำคัญที่นักกอล์ฟปรารถนาจะคว้าแชมป์มากที่สุดในภูมิภาคนี้ และมีบทบาทสำคัญกับเรื่องราวความสำเร็จของนักกอล์ฟหลายคนรวมถึง อาฒยา ฐิติกุล, ยูกะ ซาโซะ และแพตตี้ ธวัชธนกิจ ผมมั่นใจว่าแชมป์คนใหม่ของเราในการแข่งขันที่สนามสยามคันทรีคลับจะทำให้พวกเราภูมิใจในความสำเร็จของเธอเช่นกัน”
ด้านไทมูร์ ฮัสซัน อามิน ประธานสมาพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก เผยว่า “จากรายชื่อนักกอล์ฟที่ร่วมแข่งขันในศึกวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ปีนี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงศักยภาพที่เรามีในภูมิภาคแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม งานของเรายังไม่จบและเราต้องทำงานต่อไปเพื่อพัฒนาวงการกอล์ฟหญิงในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของเรา และการแข่งขันรายการดับเบิลยูเอเอพี ก็เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในเส้นทางดังกล่าว”
สำหรับการแข่งขันกอล์ฟรายการ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการโดย โรเล็กซ์, นิปปอน คาบายา โอฮาโย่ โฮลดิงส์, ทรัสต์ กอล์ฟ, ฮานา ไฟแนลเชียล กรุ๊ป และซัมซุง โดยมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันตลอด 4 วัน เข้าถึงกว่า 180 ล้านครัวเรือน รวมระยะเวลาการออกอากาศ 600 ชั่วโมง
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการแข่งขันกอล์ฟ วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.randa.org/en/championships/womensamateurasiapacific
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น