กสศ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายอาชีวะ จัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 “สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยการศึกษาสายอาชีพ” - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

กสศ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายอาชีวะ จัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 “สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยการศึกษาสายอาชีพ”


       ****สร้างโอกาส นร.ยากจน- ด้อยโอกาส เรียนต่อสายอาชีพ ปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ มุ่งผลิตกำลังคนตรงความต้องการตลาดแรงงานตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผนวกนวัตกรรมพัฒนาสถานศึกษาและดูแลสุขภาพจิตนักศึกษา****


เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ มูลนิธิเครือข่ายพยาบาลชุมชน และ สถาบัน ORYGEN ประเทศออสเตรเลีย ร่วมจัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 “สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยการศึกษาสายอาชีพ” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนสายอาชีพและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนด้อยโอกาสได้เรียนต่อสายอาชีพชั้นสูง


เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า
การพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาและสายอาชีพ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย โดยยกระดับคุณภาพของหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย First S-Curve และ New S-Curve ให้ความสำคัญกับสาขา STEM (วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี) รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมที่มีคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์เพื่อต่อยอดทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับมาตรฐานการพัฒนาภาษาต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลและความต้องการตลาดแรงงานของประเทศ


เรืออากาศโทสมพร กล่าวต่อว่า
สอศ.ทำงานเป็นพันธมิตรร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาและสายอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนจากทุกสังกัด สอศ. และ อว. ซึ่งถือเป็นสถานศึกษาตัวแบบของการพัฒนาคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขับเคลื่อนนโยบายร่วมกับ กสศ. และภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดภาพปลายทางใน 2 ด้านสำคัญ คือ 1.การขยายทุนการศึกษาแก่เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่กว้างขวางขึ้น เพิ่มเติมจากที่ กสศ. สนับสนุนตัวแบบได้เพียง 1% ต่อรุ่น หรือจำนวน 2,500 ทุนต่อปี ผ่านความร่วมมือหลายภาคส่วนที่มีทรัพยากร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2.การส่งเสริมผู้บริหาร ครู และสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการดูแลเยาวชนครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สุขภาพจิตใจ อาชีพ และโอกาสการมีงานทำ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงเป็นอีกช่องทางสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ยากจนและด้อยโอกาส และการผลิตกำลังคนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการผลิตและภาคธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้และในมิติต่างๆ


ดร. ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า
โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ของ กสศ. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่คัดเลือกโดยสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม มีจำนวนนักศึกษาทุนสะสมทั้งหมด 9,614 คน สำเร็จการศึกษาแล้ว 3,056 คน ปัจจุบัน กสศ. เปิดรับสมัครผู้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,500 ทุน เข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาและอื่นๆ ที่เปิดสอนนระดับ ปวช. ปวส. อนุปริญญา และ ประกาศนียบัตร 116 แห่ง ใน 44 จังหวัด รวมกว่า 30 สาขา สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานระดับประเทศและท้องถิ่น เช่น สาขาเครื่องกล สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาเทคนิคการผลิต สาขาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก สาขาอุตสาหกรรมเกษตรศาสตร์ และมีงานทำทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา


“นอกจากนี้ กสศ.จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษา พัฒนาระบบดูแลนักศึกษาและการป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา พัฒนาแบบหลักสูตรที่เป็นนวัตกรรม เช่น การพัฒนาระบบเสริมสร้างทักษะชีวิต ดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ซึ่งร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต เพื่อส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตใจในสถานศึกษา ถือเป็น 1 ในนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน ให้เกิดพฤติกรรมและอารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมรับมือต่อปัญหา ผ่านการพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการเป็นที่ปรึกษา สร้างทักษะและถ่ายทอดความรู้ ให้ครูสามารถจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่นักศึกษา และการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายสุขภาพจิตและผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ มีระบบส่งต่อเป็นรายกรณี เป็นการเชื่อมการศึกษาและระบบสุขภาพ” ดร. ไกรยส กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here