สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ มิวเซียมสยาม จับมือเครือข่าย 5 หน่วยงานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์องค์กร (MOU) ระหว่าง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ กรมศิลปากร การไฟฟ้านครหลวง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสถาบันพระปกเกล้า เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์องค์กร โดยมีความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านทรัพยากร และด้านการจัดกิจกรรม ซึ่งในวาระเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างพิพิธิภัณฑ์องค์กรครั้งนี้จะเริ่มสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ (บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์) ที่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ ให้ประชาชน เยาวชน สถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้สนใจทั่วไป ได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้จากความร่วมมือครั้งนี้ โดยมี นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดงาน และมอบของที่ระลึกให้กับผู้บริหารองค์กรความร่วมมือ
พร้อมจัดการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เรื่องเล่า ความเป็นมา ความร่วมมือ พิพิธภัณฑ์” ประกอบด้วย นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อํานวยการสํานักพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, นายคมกริซ สาคลิก ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง, ผศ.นพ.สมุทร จงวิศาล หัวหน้าหน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล, นางกาญจนา ศรีปัดภา ผู้อํานวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, นายประชา สุขสบาย รักษาการผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมสยาม และดําเนินรายการโดย นางดวงชีวัน กาญจนารักษ์ ผู้อํานวยการกลุ่มงานหอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อํานวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เผยว่า “ด้วยภารกิจของมิวเซียมสยาม เรามีความยินดีที่จะต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ร่วมกับทั้ง 5 หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ กรมศิลปากร การไฟฟ้านครหลวง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยมิวเซียมสยามพร้อมให้คําปรึกษา ตลอดจนการออกแบบเนื้อหาทางวิชาการ ซึ่งการจัดทําบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้พพิ ิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญและเห็นคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ขององค์กรต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ําเจ้าพระยา ช่วงคุ้งน้ําเจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองตลาด ถึงปากคลองผดุงกรุงเกษม
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงขอบเขตความร่วมมือ 3 ด้าน ดังนี้
- ความร่วมมือด้านวิชาการ ประกอบด้วย วิชาการด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาการพัฒนาและสนับสนุนการ ศึกษาวิจัย ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์เนื้อหาความ เชื่อมโยงของ 6 องค์กร ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อให้แต่ละองค์กรมีความองค์ความรู้ พื้นฐานที่สามารถเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพิพิธภัณฑ์แต่ละองค์กร
- ความร่วมมือด้านทรัพยากร ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรสารสนเทศ การบริหารจัดการข้อมูล โดยการจัดบรรยาย อบรมให้ความรู้ ร่วมกัน ด้านสื่อการเรียนรู้ สื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละองค์กร เช่น วิดีทัศน์ แผ่นพับ ตลอดจนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น
- ความร่วมมือด้านการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริการร่วมกัน โดยการจัดแสดงนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนคณะศึกษาดูงานการจัดอบรม สัมมนา หรือการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสําคัญต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นการให้บริการเยาวชน ประชาชน หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้สนใจให้ได้รับประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์” นายราเมศ กล่าวทิ้งท้าย
สําหรับไฮไลท์สําคัญของการลงนาม MOU ในวันนี้ คือการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรตุลาการ “ผู้พิทักษ์” รัฐธรรมนูญ การพิทักษ์รัฐธรรมนูญคือหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและประชาชนทุกคน ซึ่งเราจะมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่เด็ก เยาวชน สถาบันการศึกษา และนักศึกษาเฉพาะด้าน รองลงมาคือ ประชาชนทั่วไป และองค์กร หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เป็นแหล่งเรียนรู้เฉพาะด้าน เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรหรือสถาบันเทียบเท่าที่หน้าที่วินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุติธรรม และการเมืองการปกครองที่เกี่ยวข้อง
- เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างความเป็นธรม ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง สร้างความเสมอภาคลดความเหลื่อมล้ํา (Museum for all)
- สร้างความรู้ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่สําคัญของศาลรัฐธรรมนูญ และความเชื่อมั่นและสามารถใช้สิทธิ์เสรีภาพตนเองได้อย่างเต็มที่และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
- เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ และเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อ่ืน และชุมชน
ส่วนทางด้านภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเนื้อหานิทรรศการ ออกเป็น 3 โซน 3 ชั้น ได้แก่
- ชั้น 1 ห้อง 101-107 จะประกอบด้วย โถงต้อนรับ โถงทางเดิน เปิดโลกแห่งภารกิจผู้พิทักษ์ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พื้นที่จําหน่ายสินค้าที่ระลึก และนิทรรศการหมุนเวียน
- ชั้น 2 ห้อง 201-209 ประกอบด้วย จารึกแห่งเจตนารมณ์ ภารกิจเพื่อชาติและประชาชน โถงประวัติศาสตร์ ห้องรับรอง เปิดคดีรัฐธรรมนูญ คุณปการศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นมือสู่ผู้พิทักษ์ ประชุมวินิจฉัยและพิจารณาคดีประวัติศาสตร์
- ชั้น 3 ห้อง 301-307 ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญไทยใต้ร่มพระบารมี เราคือผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หอเกียรติยศ จัดแสดงสิ่งของทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายก้าวต่อไปของศาลรัฐธรรมนูญ บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ สถาปัตยกรรมข้ามเวลา และตามรอยย่านเก่า เล่าตํานานชีวิต
ภายในงานได้จัดให้มีการนําชมพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ โดย นายพาณินทร์ วัชราภัย ผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารการประชุม สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สําหรับผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถเข้าชมได้ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อํานวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เผยว่า “ด้วยภารกิจของมิวเซียมสยาม เรามีความยินดีที่จะต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ร่วมกับทั้ง 5 หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ กรมศิลปากร การไฟฟ้านครหลวง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยมิวเซียมสยามพร้อมให้คําปรึกษา ตลอดจนการออกแบบเนื้อหาทางวิชาการ ซึ่งการจัดทําบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้พพิ ิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญและเห็นคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ขององค์กรต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ําเจ้าพระยา ช่วงคุ้งน้ําเจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองตลาด ถึงปากคลองผดุงกรุงเกษม
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงขอบเขตความร่วมมือ 3 ด้าน ดังนี้
- ความร่วมมือด้านวิชาการ ประกอบด้วย วิชาการด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาการพัฒนาและสนับสนุนการ ศึกษาวิจัย ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์เนื้อหาความ เชื่อมโยงของ 6 องค์กร ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อให้แต่ละองค์กรมีความองค์ความรู้ พื้นฐานที่สามารถเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพิพิธภัณฑ์แต่ละองค์กร
- ความร่วมมือด้านทรัพยากร ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรสารสนเทศ การบริหารจัดการข้อมูล โดยการจัดบรรยาย อบรมให้ความรู้ ร่วมกัน ด้านสื่อการเรียนรู้ สื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละองค์กร เช่น วิดีทัศน์ แผ่นพับ ตลอดจนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น
- ความร่วมมือด้านการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริการร่วมกัน โดยการจัดแสดงนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนคณะศึกษาดูงานการจัดอบรม สัมมนา หรือการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสําคัญต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นการให้บริการเยาวชน ประชาชน หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้สนใจให้ได้รับประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์” นายราเมศ กล่าวทิ้งท้าย
สําหรับไฮไลท์สําคัญของการลงนาม MOU ในวันนี้ คือการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรตุลาการ “ผู้พิทักษ์” รัฐธรรมนูญ การพิทักษ์รัฐธรรมนูญคือหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและประชาชนทุกคน ซึ่งเราจะมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่เด็ก เยาวชน สถาบันการศึกษา และนักศึกษาเฉพาะด้าน รองลงมาคือ ประชาชนทั่วไป และองค์กร หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เป็นแหล่งเรียนรู้เฉพาะด้าน เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรหรือสถาบันเทียบเท่าที่หน้าที่วินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุติธรรม และการเมืองการปกครองที่เกี่ยวข้อง
- เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างความเป็นธรม ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง สร้างความเสมอภาคลดความเหลื่อมล้ํา (Museum for all)
- สร้างความรู้ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่สําคัญของศาลรัฐธรรมนูญ และความเชื่อมั่นและสามารถใช้สิทธิ์เสรีภาพตนเองได้อย่างเต็มที่และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
- เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ และเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อ่ืน และชุมชน
ส่วนทางด้านภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเนื้อหานิทรรศการ ออกเป็น 3 โซน 3 ชั้น ได้แก่
- ชั้น 1 ห้อง 101-107 จะประกอบด้วย โถงต้อนรับ โถงทางเดิน เปิดโลกแห่งภารกิจผู้พิทักษ์ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พื้นที่จําหน่ายสินค้าที่ระลึก และนิทรรศการหมุนเวียน
- ชั้น 2 ห้อง 201-209 ประกอบด้วย จารึกแห่งเจตนารมณ์ ภารกิจเพื่อชาติและประชาชน โถงประวัติศาสตร์ ห้องรับรอง เปิดคดีรัฐธรรมนูญ คุณปการศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นมือสู่ผู้พิทักษ์ ประชุมวินิจฉัยและพิจารณาคดีประวัติศาสตร์
- ชั้น 3 ห้อง 301-307 ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญไทยใต้ร่มพระบารมี เราคือผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หอเกียรติยศ จัดแสดงสิ่งของทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายก้าวต่อไปของศาลรัฐธรรมนูญ บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ สถาปัตยกรรมข้ามเวลา และตามรอยย่านเก่า เล่าตํานานชีวิต
ภายในงานได้จัดให้มีการนําชมพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ โดย นายพาณินทร์ วัชราภัย ผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารการประชุม สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สําหรับผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถเข้าชมได้ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น