วิศวลาดกระบัง จับมือกับ 11 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเซมิคอนดักเตอร์” - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566

วิศวลาดกระบัง จับมือกับ 11 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเซมิคอนดักเตอร์”


       ***เปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเซมิคอนดักเตอร์” วิศวลาดกระบัง จับมือกับ 11 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโชว์ 5 ห้องปฏิบัติการเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์สุดล้ำ และ Analog Mixed Signal IC Tester เครื่องแรกของมหาวิทยาลัยไทย***


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงานเปิดศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมเปิดตัว 5 ห้องปฏิบัติการเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor and Smart Electronics Laboratories) ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเครื่องมือทดสอบ Analog Mixed Signal IC Tester เครื่องแรกของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไทย โดยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมผู้นำด้านอิเล็กทรอนิกส์ไทย ในวันที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องสโลป ชั้น 3 อาคาร Bภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.


รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า
ในช่วงปี 2565 และ 2566 ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์นั้นมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทาง สจล. ได้เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้และมุ่งที่จะผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทย โดยต้องการที่จะสร้างและเชื่อมโยงปัจจัยทุกอย่างในทุกมิติเข้าด้วยกันทั้งด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านห้องปฏิบัติการและเครื่องมืออุปกรณ์ และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสถาบันด้านการศึกษาเรียนรู้แบบมุ่งผลลัพธ์ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ และการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาตามแนวทาง Global Learning และ Global Citizen ที่ให้ทุกคณะและวิทยาลัยใน สจล. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูง ตอบโจทย์ตรงความต้องการภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และก้าวสู่การเป็น “ผู้นำนวัตกรรมระดับโลก” (The World Master of Innovation) ในงานนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เปิดห้องปฏิบัติการเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ 5 ห้อง คือ 1.ห้องปฏิบัติการวงจรรวม 2.ห้องปฏิบัติการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ 3.ห้องปฏิบัติการทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ 4.ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 5.ห้องปฏิบัติการพลังงานสะอาดและนวัตกรรมพร้อมแสดงนวัตกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์


รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า
อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ นับเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตและเชื่อมโยงหลายอุตสาหกรรม เป็นชิ้นส่วนที่มีทั้งในอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ซับซ้อน มีรูปแบบการเลือกใช้งานที่หลากหลาย ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นอย่างมาก และประเทศไทยก็มีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิต เนื่องจากความพร้อมทางด้านทรัพยากร การจัดตั้งภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศอื่นๆ จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้เป็นอย่างมาก... 


...ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมผลิตบุคลากรคุณภาพรองรับตำแหน่งงานด้านเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงการเปิดตัว 5 ห้องปฏิบัติการเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจากบริษัทชั้นนำ 11 แห่ง ได้แก่ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน), SPEA, บริษัท อนาล็อก ดีไวเซส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อินฟินีออน เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด, Thai Microelectronics Center (TMEC) , บริษัท ไทย ทาซากิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท ยูคอร์ป จำกัด, บริษัท แอร์โรว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ Basor Thailand... 


...สนับสนุนให้เกิดศูนย์กลางการผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศไทยกับ 5 ห้องปฏิบัติการด้านเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมเครื่องมือ Analog Mixed Signal IC Tester เครื่องแรกในมหาวิทยาลัยไทยโดยบริษัท Analog Devices (Thailand) ร่วมกับบริษัท SPEA ส่งตรงจากประเทศอิตาลี รถยนต์นิสสันลีฟและระบบชาร์จพลังงาน อุปกรณ์วิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังจากบริษัทเดลต้าและบริษัทอินฟินีออน นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในไต้หวันด้านการพัฒนาบุคลากรชั้นนำทางเซมิคอนดักเตอร์ ด้านการพัฒนาห้องปฏิบัติการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานเสวนาวิชาการครั้งสำคัญโดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย


คุณยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
หนึ่งในสิ่งที่เราประสบความสำเร็จมากที่สุดก็คือเรื่องของการลงทุนทางด้านของวิจัยและพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะโครงการที่เป็น Advance หรือ Technology ใหม่ๆ บริษัทฯได้ให้ความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. มาเกือบ 10 ปี ด้วย Industrial Automation (แขนกล Robotic) เพื่อสร้างคน จากการ Train กับ Trainer สู่ Train Professor โดยเริ่มจากห้องแล็บ Automationให้นักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้ Trend ของโลก ปัจจุบัน Delta กำลังให้ความสนใจรถไฟฟ้า หนึ่งใน Power Electronic โดยได้จัดห้องแล็บ EV ให้ทาง สจล. มีการสอนให้กับอาจารย์ มีอุปกรณ์ให้นักศึกษาเรียนรู้ โดยเรียกห้องแล็บว่า Delta Academy และนักศึกษาที่เรียนจบก็จะได้รับใบ Certificate อีกด้วย


คุณวิรัตน์ ศรีอมรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อนาล็อก ดีไวซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด
ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เน้นการดึง Technology การออกแบบ IC และผลักดันให้มีต้นน้ำในประเทศไทย เนื่องจากสิ่งสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ไม่ใช่การลงทุนแต่เป็นเรื่องของการพัฒนาคน เราตระหนักถึงความสำคัญทางด้านบุคลากร จึงมีการทำงานร่วมกับภาคมหาวิทยาลัย ซี่งที่แรกที่เราจะทำ Prototype แกนหลักในการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และการออกแบบ IC ในอนาคต.คือ สจล. ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นโครงการเพื่อที่จะสร้างบุคลากรทางด้านนี้ให้เป็นต้นน้ำในประเทศไทยต่อไป

Mr. Lorenzo Bonaria, Executive Vice President, SPEA | Automatic Test Equipment (ATE) กล่าวว่า บริษัทได้มอบ DOT semiconductor tester ให้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และยังร่วมสนับสนุนในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะการทดสอบที่สำคัญทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าฝึกงานและทำงานกับบริษัทฯ อีกด้วย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกรียงไกร สุขสุด หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า
ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันส่งผลให้ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีห้องปฏิบัติการที่ครอบคลุมระบบการผลิตของเซมิคอนดักเตอร์ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และการทดสอบ จนถึงการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นการยกระดับ Supply Chain ทั้งระบบอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ สร้างและพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านเซมิคอนดักเตอร์เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศไทยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here