เสริมศักดิ์ เดินหน้านโยบาย Soft Power เดินหน้าหนุนเชียงคานโมเดล เสริมสร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนและสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เสริมศักดิ์ เดินหน้านโยบาย Soft Power เดินหน้าหนุนเชียงคานโมเดล เสริมสร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนและสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม


เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ เปิดวัดสักการะสิ่งศักดิ์ยามค่ำคืน และกิจกรรมครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ลอยผาสาด ใส่บาตรข้าวเหนียว พร้อมด้วยนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ระหว่างวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2567 ณ วัดศรีคุนเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย



นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft Power ของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนรอบวัดและศาสนาสถาน ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนจะได้มีโอกาสร่วมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนอำเภอเชียงคาน เป็นการเพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าวัดทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเพลิดเพลินไปกับความวิจิตรงดงามของวัดยามค่ำคืน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา สืบสานวิถีพุทธ เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนรอบวัด เปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ผ่านการชมทัศนียภาพของวัด โบราณสถาน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่มีความงดงาม... 


...การจัดกิจกรรม 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ “เชียงคานโมเดล ของชุมชนคุณธรรม 1000 อาชีพ” ของอำเภอเชียงคานเป็นต้นแบบในการนำร่อง ซึ่งชุมชนคุณธรรมพลังบวรในมิติศาสนา มีจำนวน 3,000 แห่ง และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีจำนวน 2,845 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ของดีชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ซ่าปลา กุ้งเสียบ หอยเสียบแม่น้ำโขง มะขามกวน เมี่ยงคำ ผลิตภัณฑ์จากผ้า เช่น ผ้าห่มนวม กระเป๋าผ้าฝ้าย ผ้าพันคอ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เช่น โคมไฟ ดอกไม้จากเกล็ดปลา พวงกุญแจ เป็นต้น โดยใช้ชุมชนคุณธรรมพลังบวรและศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้คู่คุณธรรม เสริมสร้างทักษะใหม่ สร้างสรรค์สินค้าและบริการ และผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อและตลาด เพื่อส่งเสริมอาชีพกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มพูนรายได้ให้กับครัวเรือน เดือนละประมาณ 17,000 บาท หรือ 200,000 บาทต่อปี ตามนโยบายของรัฐบาล


...ทั้งยังส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญเพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและมีการเปิดวัดสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ท่องเที่ยวยามค่ำคืน และฟื้นฟูวิถีชีวิตและประเพณี “ผาสาดลอยเคราะห์” ซึ่งเป็นพิธีกรรมโบราณสืบทอดกันมากว่า 100 ปี ตามความเชื่อว่า หากผู้ใดเห็นสิ่งไม่ดี สิ่งไม่เป็นมงคล หรือมีการเจ็บไข้ ประสบเคราะห์กรรม ให้ทำการลอยผาสาด เพื่อเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดีออกไป จะทำให้ชีวิตดีขึ้น มีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิต เป็นการขับเคลื่อน Soft Power ด้านเฟสติวัลและด้านท่องเที่ยว ด้วยมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ไหว้พระเสริมสิริมงคลแก่ตนและครอบครัวเข้าวัดใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเรียนรู้ผ่านมุมมองของการถ่ายภาพ... 


...ในปัจจุบันถือเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เยาวชนได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยในมุมมองใหม่ ด้วยการผนวกเทรนด์ของสังคมปัจจุบันเข้ากับการท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา และยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนโดยรอบวัด ทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ เช่น ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึกโดยรอบวัด ร้านอาหาร คาเฟ่ ตลอดจนรถโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน “สวมผ้าไทย ปูสาด ใส่บาตรข้าวเหนียว” ส่งเสริมให้ประชาชนสืบสานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยในอดีต ด้วยการเข้าวัดในวันธรรมสวนะเพื่อทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ สมาทานรักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระ ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตตภาวนา และสนับสนุนสินค้าของชุมชนบริเวณรอบวัด เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับประชาชนและชุมชนอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here