กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดตัวหนังสือ "คือ...ปูชนียแพทยแห่งราชประชา : ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต" - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดตัวหนังสือ "คือ...ปูชนียแพทยแห่งราชประชา : ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต"


วันที่ 4 กันยายน 2567 ศาสตราจารย์เกียรติยศ นายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต เป็นประธาน งานเปิดตัวหนังสือ "คือ...ปูชนียแพทยแห่งราชประชา : ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต" และเสวนาการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 โดยมี นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต้อนรับ นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์



นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า
การตัดสินใจทำงานในครั้งนี้ให้ออกมาดีที่สุด เพราะการเป็น "คน" หรือบุคคลที่สมบูรณ์แบบ ต้อง "กตัญญู" ซึ่งท่านทั้ง 2 คน ได้ทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนได้ทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีเกียรติ ได้เลื่อนขั้นเป็น ซี 9 และได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม


ในวันนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำหน้าที่ ด้าน"ความกตัญญู" ต่ออาจารย์ที่เคารพรักยิ่ง จึงได้จัดงานเปิดตัวหนังสือ "คือ...ปูชนียแพทยแห่งราชประชา : ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต" ขึ้น


ภายในงานมีการเสวนา "การปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560" โดย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท และแพทย์หญิงรัชฎาพร สีลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายแพทย์ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นผู้ดำเนินรายการ


ศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์ธีระ รามสูต
อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค และ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจ ด้านเวชศาสตร์ป้องกันและสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 


เป็นผู้อุทิศตนทำงานโครงการควบคุมโรคเรื้อนตามแนวพระราชดำริของล้นเกล้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จ กำจัดโรคเรื้อนได้ไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขในปี 2537 จนไดรับแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ, ที่ปรึกษาโรคเรื้อน, การกำจัดโรคเรื้อนและการวิจัยด้านสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here