เผยรายงานต่างประเทศ ชี้ฝุ่นพิษจากบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่า pm2.5 ในกทม. 10 เท่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เล็งนำผลศึกษา 3 แนวทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสภาฯ ชงให้รัฐบาลชี้ขาด เผยผลสำรวจ 96%ครอบครัวไทยหวั่นการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้ากระทบต่อลูกหลาน หนุนภาครัฐเร่งปราบปรามป้องกันการสูญเสียงบประมาณรักษาและเสียเวลาบุคลากรแพทย์
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบ กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคปอดอับเสบรุนแรง หากร่วมกับพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ เช่น การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด - การใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อพัฒนาการสมองของเด็กตั้งแต่ในครรภ์จนถึงอายุ 25 ปี การพัฒนาสมองส่วนหน้าของเด็กมีความสำคัญต่อการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรง
เราพบว่ากฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่เข้มงวดเพียงพอ ทำให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้ามีความท้าทาย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและความต้องการรายได้จากภาษี การเพิ่มขึ้นของผู้สูบบุหรี่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่สูงขึ้น
นอกจากนี้แล้วยังมีรายงาน U.S.Centers For Disease Control And Preventionหรือ CDC ระบุว่า ปัญหาฝุ่นละอองเป็นพิษหรือPM 2.5 ที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายมากกว่า PM 2.5ทั่วๆไป ซึ่งมีระดับที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ถือว่าอันตรายแล้ว แต่ฝุ่นพิษที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าตั้ง 220 กว่าไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าระดับฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ เกือบ 10 เท่า เคยมีการวัดค่าPM 2.5 ในห้องประชุมที่ใช้จัดอีเว้นท์ และมีคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าพบว่ามีค่าPM 2.5 ที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าทิ้งอยู่ภายในสูงกว่าตั้ง 819 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเลยทีเดียว
ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวอีกว่า คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เตรียมนำผลการศึกษา 3 แนวทางหลัก คือ
1.การคงแบนบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ
2.การอนุญาตเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน
3.การทำให้บุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบถูกกฎหมาย เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายสุขภาพ และเครือข่ายครอบครัวได้มีการศึกษาข้อมูลความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ข้อสรุปตรงกันจากผลสำรวจว่า “ต้องการให้รัฐบาลคงมาตรการห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และเร่งปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายทุกรูปแบบ”
ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยถึงสถิติที่น่าตกใจสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ว่า ร้อยละ 38 ของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอายุระหว่าง 15-24 ปี ร้อยละ 92 สูบบุหรี่ฟ้าครั้งแรกจากการชวนของเพื่อน และกลุ่มอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 5.3เท่าภายใน 7 ปี(พ.ศ.2558-2565) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาจากการโฆษณา การแต่งสี กลิ่น รส อิทธิพลสังคมและกลุ่มเพื่อน ลดความเครียด และเสพติดนิโคติน
ทั้งนี้เราพบว่าเด็กที่ติดบุหรี่ไฟฟ้าจะเลิกได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่ และอาจเลิกช้ากว่า 20 ปี เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุน้อยยิ่งติดเยอะ และไม่จริงเลยที่ว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วจะลดการสูบบุหรี่มวนได้ เพราะจากการสำรวจแล้วเราพบว่ายิ่งเพิ่มปัจจัยการสูบบุหรี่มวนเพิ่มมากขึ้น
การทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นของกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะจากผลสำรวจความคิดเห็นของครอบครัวมีความกังวลอย่างมาก และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพราะขนาดไม่ถูกกฎหมาย กฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง
“หากรัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาสิ่งเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับเยาวชน การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนในการรผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของผู้แทนประชาชนที่จะแสดงึวามจริงจังและจริงใจในการปกป้องสิ่งที่มีคุณค่าและมูลค่ามากที่สุดในการพัฒนาประเทศ นั่นคือ เยาวชนของเรา” ผศ.พญ.จิราภรณ์ กล่าว
ด้านนางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ประธานเครือข่ายครอบครัวปลอดบุหรี่ กล่าวว่า ร่วมกับสมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ สำรวจความเห็น “ครอบครัวไทยคิดอย่างไรต่อบุหรี่ไฟฟ้า” ระหว่างวันที่ 4-11 ม.ค.2568 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยแบบสอบถามจาก 3,428 คน ร้อยละ 80 อยู่ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 31-60ปี และร้อยละ 10 เป็นผู้สูงอายุและเด็ก พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ร้อยละ 79 มีความกังกลต่อการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวขน ร้อยละ 96 มีความกังวลว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะแพร่ระบาดมาถึงลูกหลานตน และร้อยละ 33 คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเข้าถึงบุตรหลานของตนอย่างแน่นอน และร้อยละ 40 มีโอกาสครึ่งต่อครึ่ง
ครอบครัวส่วนใหญ่ร้อยละ 74 เห็นว่า ต้องปราบปรามกระบวนการขายให้สิ้นซาก คือ วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เด็กและเยาวชนปลอดภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 22 ต้องฉีดวัคซีนความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนให้ทั่วถึง
"ครอบครัวไทยเป็นห่วงและกังวลอย่างมาก หากบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกกฎหมาย เพราะจะเกิดโทษต่อเยาวชนและผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก บุคลากรการแพทย์ต้องเสียเวลาและงบประมาณการรักษาผู้ป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้า การจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะเป็นการทำลายลูกหลานและเท่ากับรัฐบาลกำลังมอมเมาประชาชนและทำลายเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ” นางฐานิชชา กล่าว
ขณะที่ น.ส.ณัฐนพิน บุญจริง ผู้ปกครองซึ่งมีลูก อายุ 25 ปี 20 ปี และคนสุดท้ายซี่งเป็นลูกสาวกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ทั้ง 3 คนสูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด เผย ว่า วัยรุ่นมีความคิดเป็นของตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง แต่วุฒิภาวะและการตัดสินใจยังมีน้อย ไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา ตอนนี้ลูกมีสุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน ป่วยง่าย บางครั้งหยิบยืมเงินแม่เนื่องจากไม่พอใช้ เราได้แต่พยายามทำความเข้าใจ สื่อสารบอกถึงความอันตรายที่มีต่อสุขภาพ แต่หลายครั้งลูกก็พูดอยู่บ่อยๆ ว่า ใครๆ เค้าก็สูบกัน ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ และรัฐบาลกำลังทำให้สิ่งเสพติด โดยเฉพะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่รับไม่ได้
ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายสุขภาพ และเครือข่ายครอบครัวได้มีการศึกษาข้อมูลความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ข้อสรุปตรงกันจากผลสำรวจว่า “ต้องการให้รัฐบาลคงมาตรการห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และเร่งปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายทุกรูปแบบ”
ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยถึงสถิติที่น่าตกใจสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ว่า ร้อยละ 38 ของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอายุระหว่าง 15-24 ปี ร้อยละ 92 สูบบุหรี่ฟ้าครั้งแรกจากการชวนของเพื่อน และกลุ่มอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 5.3เท่าภายใน 7 ปี(พ.ศ.2558-2565) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาจากการโฆษณา การแต่งสี กลิ่น รส อิทธิพลสังคมและกลุ่มเพื่อน ลดความเครียด และเสพติดนิโคติน
ทั้งนี้เราพบว่าเด็กที่ติดบุหรี่ไฟฟ้าจะเลิกได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่ และอาจเลิกช้ากว่า 20 ปี เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุน้อยยิ่งติดเยอะ และไม่จริงเลยที่ว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วจะลดการสูบบุหรี่มวนได้ เพราะจากการสำรวจแล้วเราพบว่ายิ่งเพิ่มปัจจัยการสูบบุหรี่มวนเพิ่มมากขึ้น
การทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นของกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะจากผลสำรวจความคิดเห็นของครอบครัวมีความกังวลอย่างมาก และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพราะขนาดไม่ถูกกฎหมาย กฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง
“หากรัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาสิ่งเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับเยาวชน การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนในการรผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของผู้แทนประชาชนที่จะแสดงึวามจริงจังและจริงใจในการปกป้องสิ่งที่มีคุณค่าและมูลค่ามากที่สุดในการพัฒนาประเทศ นั่นคือ เยาวชนของเรา” ผศ.พญ.จิราภรณ์ กล่าว
ด้านนางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ประธานเครือข่ายครอบครัวปลอดบุหรี่ กล่าวว่า ร่วมกับสมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ สำรวจความเห็น “ครอบครัวไทยคิดอย่างไรต่อบุหรี่ไฟฟ้า” ระหว่างวันที่ 4-11 ม.ค.2568 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยแบบสอบถามจาก 3,428 คน ร้อยละ 80 อยู่ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 31-60ปี และร้อยละ 10 เป็นผู้สูงอายุและเด็ก พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ร้อยละ 79 มีความกังกลต่อการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวขน ร้อยละ 96 มีความกังวลว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะแพร่ระบาดมาถึงลูกหลานตน และร้อยละ 33 คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเข้าถึงบุตรหลานของตนอย่างแน่นอน และร้อยละ 40 มีโอกาสครึ่งต่อครึ่ง
ครอบครัวส่วนใหญ่ร้อยละ 74 เห็นว่า ต้องปราบปรามกระบวนการขายให้สิ้นซาก คือ วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เด็กและเยาวชนปลอดภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 22 ต้องฉีดวัคซีนความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนให้ทั่วถึง
"ครอบครัวไทยเป็นห่วงและกังวลอย่างมาก หากบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกกฎหมาย เพราะจะเกิดโทษต่อเยาวชนและผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก บุคลากรการแพทย์ต้องเสียเวลาและงบประมาณการรักษาผู้ป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้า การจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะเป็นการทำลายลูกหลานและเท่ากับรัฐบาลกำลังมอมเมาประชาชนและทำลายเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ” นางฐานิชชา กล่าว
ขณะที่ น.ส.ณัฐนพิน บุญจริง ผู้ปกครองซึ่งมีลูก อายุ 25 ปี 20 ปี และคนสุดท้ายซี่งเป็นลูกสาวกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ทั้ง 3 คนสูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด เผย ว่า วัยรุ่นมีความคิดเป็นของตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง แต่วุฒิภาวะและการตัดสินใจยังมีน้อย ไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา ตอนนี้ลูกมีสุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน ป่วยง่าย บางครั้งหยิบยืมเงินแม่เนื่องจากไม่พอใช้ เราได้แต่พยายามทำความเข้าใจ สื่อสารบอกถึงความอันตรายที่มีต่อสุขภาพ แต่หลายครั้งลูกก็พูดอยู่บ่อยๆ ว่า ใครๆ เค้าก็สูบกัน ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ และรัฐบาลกำลังทำให้สิ่งเสพติด โดยเฉพะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่รับไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น