กกท. กทม. สสส. สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิรณรงค์เพื่อไม่สูบบุหรี่ ผนึกกำลังประกาศก้อง การกีฬาไทย (ไม่เอา) บุหรี่ไฟฟ้า - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568

กกท. กทม. สสส. สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิรณรงค์เพื่อไม่สูบบุหรี่ ผนึกกำลังประกาศก้อง การกีฬาไทย (ไม่เอา) บุหรี่ไฟฟ้า


วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2568 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และประกาศเจตนารมณ์ “การกีฬาไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในวงการกีฬาไทย



ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า 
ตามที่ขณะนี้มีการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างรุนแรงในเด็กนักเรียนทั่วประเทศที่อายุน้อยลงไปจนถึงชั้นประถมศึกษาและการสำรวจพบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กนักเรียนประถมปลาย มัธยมต้นสูงถึง 20-30% จากหลาย ๆ การสำรวจ รวมทั้งเริ่มพบว่ามีวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ผสมยาเสพติด เช่น ยาเค และยาซอมบี้

นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้มีนโยบายให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนักเรียนอย่างเร่งด่วน ทั้งการปราบปรามแหล่งนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าทุกช่องทาง รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่สังคม เด็กและเยาวชนถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

วงการกีฬาโดยเฉพาะนักกีฬาทุกแขนง มีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่ไม่สูบบุหรี่ทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ในอดีตบริษัทบุหรี่มีการใช้นักกีฬาเป็นสื่อบุคคลในการโฆษณาสินค้าบุหรี่แต่กฎหมายทั่วโลกได้ห้ามการกระทำเช่นนี้แล้ว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ สสส. จะร่วมรณรงค์ “การกีฬาไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”


นายก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กล่าวว่า
 การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จะร่วมกับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานกีฬาต่าง ๆ เพื่อทำให้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ลงนามในวันนี้ได้เกิดการขับเคลื่อนจริง ด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยให้หน่วยงานภายใต้สังกัดดำเนินการจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560...

...สร้างความรับรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักกีฬาไทยทุกคนไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นต้นแบบของเด็กและเยาวชนให้ไม่ตกเป็นเหยื่อและเป็นทาสของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า, สนับสนุนให้พื้นที่หรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาทุกประเภทเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ด้วยการติดสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าให้เห็นชัดเจน พร้อมการพูดประกาศเสียงตามสายตลอดระยะเวลาการแข่งขัน มีการติดตามผลการดำเนินงานสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในหน่วยงานภายใต้สังกัด รวมถึงจะไม่รับทุนอุปถัมภ์หรือ CSR จากอุตสาหกรรมยาสูบทุกประเภท ตามข้อห้ามในมาตรา 35 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560


นายถิรชัย วุฒิธรรม · “บิ๊กแป๊ะ” นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า 
กรุงเทพมหานครจะเน้นส่งเสริมให้หน่วยงานด้านกีฬาทุกประเภทในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยนักกีฬาทุกคนไม่สูบบุหรี่ทุกประเภท รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และสนับสนุนการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เพื่อสร้างสุขภาวะในนักกีฬาและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร รวมถึงไม่รับทุนอุปถัมภ์หรือ CSR จากอุตสาหกรรมยาสูบทุกประเภท ตามข้อห้ามในมาตรา 35 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และสนับสนุนงานของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร ให้ร่วมบูรณาการกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักอนามัย และทุก ๆ สำนัก เพื่อเร่งการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน


นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า 
การส่งเสริมให้คนไทยออกกำลังกายเพื่อที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้นลดโอกาสเกิดโรค เป็นแผนงานหลักหนึ่งของ สสส. การรณรงค์ “งานกีฬาไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” มีประโยชน์ต่อนักกีฬาและผู้เข้าร่วมงานกีฬาในหลายด้าน โดย 
   1) ช่วยรักษาสมรรถภาพทางกาย เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและอาจลดความสามารถในการส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ ซึ่งนักกีฬาที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจติดขัด 
   2) ป้องกันผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ เพราะไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีสารพิษ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และโลหะหนัก ซึ่งอาจทำลายเซลล์ปอดและลดประสิทธิภาพในการหายใจ นักกีฬาที่ต้องใช้ความอึด เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักว่ายน้ำ อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากปอดที่อ่อนแอลง 
   3) ลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บและฟื้นตัวเร็วขึ้น เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้ช้าลง 
   4) สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพในงานกีฬา เพราะงานกีฬาควรเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมสุขภาพและแรงบันดาลใจให้คนมาออกกำลังกาย การไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ไม่มีควันหรือกลิ่นรบกวน  
   5) ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของนักกีฬา ซึ่งนักกีฬามักเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง


ทั้งนี้ในงานวันนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง “การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อนักกีฬาอย่างไร” เพื่อเป็นการให้ข้อมูลในเชิงประจักษ์จากคุณหมอ นพ.ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอดประเทศสหรัฐอเมริกา, พญ.พิมพ์ชนก จันทร์สวัสดิ์ กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), พลตรี นพ.ภูษิต เฟื่องฟู ศัลยแพทย์ โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และตัวแทนนักกีฬา นำโดย นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอล และกิ๊ฟ-วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ อดีตกัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย ผู้แทนนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง


#การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) #สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร #มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ #สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here