หยุดปัญหาอาการ “น้ำในเยื่อหุ้มปอด” หรือ “น้ำท่วมปอด” โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

หยุดปัญหาอาการ “น้ำในเยื่อหุ้มปอด” หรือ “น้ำท่วมปอด” โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล


รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ภาวะ “น้ำในเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) ” คือภาวะที่มีของเหลวสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด (ระหว่างเยื่อหุ้มปอดชั้นในที่คลุมปอดกับเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกที่ติดกับผนังอก) สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยปกติมักเกิดจาก 2 ประเภทใหญ่ตามลักษณะของสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยในกลุ่มแรกมักเกิดจากโรคประจำตัว (Transudative Pleural Effusion) โดยเกิดจากความดันในหลอดเลือดผิดปกติหรือโปรตีนในเลือดต่ำ ของเหลวที่รั่วออกมาจะใส มีปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุหลัก ของโรคภาวะหัวใจวาย (Congestive heart failure), โรคตับแข็ง (Cirrhosis),โรคไต (Nephrotic syndrome) ซึ่งโรคประจำตัวเหล่านี้สามารถรักษาได้ โดยปรับปริมาณน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ร่างกายจะค่อย ๆ ดีขึ้น

ในกลุ่มที่สองเกิดจากตัวปอดเอง (Exudative Pleural Effusion)
ซึ่งมักจะเกิดจากมะเร็ง (เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมกระจายมาที่เยื่อหุ้มปอด), วัณโรคปอด (Tuberculosis), ปอดติดเชื้อ (Pneumonia) อันเกิดจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบหรือมีการอุดตันของระบบน้ำเหลือง รวมถึงของเหลวที่มีโปรตีนสูงและเซลล์อักเสบจำนวนมาก โดยการรักษานั้น หากเกิดจากมะเร็งเราสามารถเอาน้ำออกแล้วใส่ยาเคลือบปอดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ (chemical pleurodesis) และในส่วนของกลุ่มที่เกิดภาวะติดเชื้อ เช่น วัณโรคหรือปอดติดเชื้อ หากดำเนินการรักษาแก้อาการของตัวโรค โดยลดอาการบวมน้ำลง อาการก็มักจะดีขึ้นตามมา แต่อาการที่พบในผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้ง เช่น มีอาการหายใจลำบาก, มีภาวะเจ็บหน้าอก (โดยเฉพาะเวลาหายใจลึก ๆ) หรือไอแห้ง ๆ มีน้ำเสียงลดลง เหล่านี้แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าเกิดจากน้ำในเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสามารถใช้การเอกซเรย์ทรวงอก, อัลตราซาวด์ หรือ CT scan และอาจมีการเจาะน้ำในเยื่อหุ้มปอด เพื่อนำไปตรวจหาสาเหตุที่แน่นอน 

ทั้งนี้การวินิจฉัยน้ำในเยื่อหุ้มปอดนั้น สามารถนำหลักการรักษาน้ำในเยื่อหุ้มปอดให้เป็นปกติได้
โดย รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย(CHF) ส่วนใหญ่จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในร่างกาย แต่หากผู้ป่วยเป็นวัณโรค ก็จะให้ยาต้านวัณโรคครบสูตร 6-9 เดือน ส่วนผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาให้เคมีบำบัด ทำการระบายของเหลวร่วมกับใส่สารเคลือบเยื่อหุ้มปอด(Pleurodesis) เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนอีกอาการหนึ่งคือ หากเกิดอาการติดเชื้อ เช่น เกิดภาวะปอดบวม แพทย์ผู้ทำการรักษาจะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
วิธีการรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอด อีกวิธีหนึ่งคือ
การระบายของเหลวออก (Thoracentesis) โดยใช้เข็มเจาะเพื่อระบายน้ำออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดและเป็นการช่วยบรรเทาอาการหายใจลำบากและใช้ส่งน้ำไปตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุ ส่วนอีกวิธีการหนึ่งคือการใส่สายระบายน้ำ (Chest tube drainage) เป็นการใส่ท่อคาไว้เพื่อระบายน้ำออกต่อเนื่อง กรณีน้ำเยอะมากหรือเป็นหนอง (Empyema) หรือวิธีการ Pleurodesis ใส่สารระคายเคือง (เช่น Talc) เข้าช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อให้เยื่อหุ้มปอดสองชั้นติดกัน ป้องกันน้ำกลับมาอีก วิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งหรือมีน้ำกลับซ้ำบ่อยและสุดท้ายวิธีการผ่าตัด(ในบางกรณี)หากมีเยื่อพังผืดหรือหนองที่ไม่สามารถระบายได้ อาจต้องผ่าตัดเปิดช่องอกหรือใส่ยาเคลือบปอดในผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ


หากผู้ป่วยหรือท่านใดสงสัยต้องการคำปรึกษาสามารถสอบถามผ่านทาง inbox ได้หรือทาง lineofficial account; @lungsurgeryth #ผ่าตัดปอด #ผ่าตัดส่องกล้อง #มะเร็งปอด #ลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดโดยปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอด รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here