17 กรกฎาคม 2568 – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว “รายงานสุขภาพคนไทย 2568” อย่างเป็นทางการ ในงานประชุม “ฟอรัมรายงานสุขภาพคนไทย 2568” ภายใต้หัวข้อ “เกิดน้อยกู่ไม่กลับ ต้องปรับและรับมืออย่างไร” ณ ห้องประชุม 201 อาคาร สสส.
โดยรายงานฉบับนี้สะท้อนสัญญาณเตือนสำคัญของสังคมไทย ผ่าน 10 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพ 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพในรอบปีที่ผ่านมา และเรื่องพิเศษประจำฉบับ ที่สะท้อนภาพรวมสุขภาวะของคนไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านประชากร สุขภาพกายใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และนโยบาย
“เกิดน้อยกู่ไม่กลับ” ภาวะดื้อนโยบาย ของการส่งเสริมการเกิดที่ต้องหาทางเดินต่อ รายงานระบุว่า อัตราการเกิดของคนไทยดิ่งเข้าสู่ภาวะต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นแนวโน้มที่ทำท่าจะ “กู่ไม่กลับ” สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบาททางสังคมของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าครองชีพที่สูงขึ้น การให้คุณค่ากับความสมดุลในชีวิต และความต้องการอิสรภาพของคนรุ่นใหม่ที่มองว่า “ลูก” อาจเป็นภาระที่หนักอึ้งเกินจะรับไหว
แม้ประเทศต่างๆ จะมีมาตรการกระตุ้นการเกิดที่หลากหลาย ตั้งแต่การสนับสนุนสถานเลี้ยงเด็ก การขยายเวลาลาคลอด การให้เงินอุดหนุน และการพัฒนาบริการสาธารณสุข แต่ไร้วี่แววการของความต้องการมีลูกเพิ่ม สถานการณ์เด็กเกิดน้อยเป็นปรากฏการณ์ "ดื้อนโยบาย" ที่ทำให้สังคมต้องปรับตัวและเตรียมรับมือกับผลกระทบในระยะยาว ทั้งการมุ่งไปที่การดูแลคุณภาพชีวิตของเด็กที่เกิดมาแล้วให้ดีที่สุด การสร้างระบบนิเวศที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการพัฒนาของเด็กและเยาวชน การดึงดูดผู้ย้ายถิ่นที่มีคุณภาพ การปรับนิยามผู้สูงอายุ การขยายอายุเกษียณ และการเตรียมรับมือกับสังคมสูงวัยระดับสุดยอด
10 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพคนไทย 2568 ชี้ คนไทย 13.4 ล้านคน เผชิญปัญหาสุขภาพจิต เยาวชนวัย 15–29 ปี เสี่ยงสูงสุด 10 หมวดตัวชี้วัดได้สะท้อนสถานการณ์ แนวโน้ม และปัจจัยสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนไทยในมิติต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และสังคมโดยรวม อีกทั้ง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสำคัญด้านสุขภาพจิตของคนไทย พบว่า กว่า 13.4 ล้านคนเคยประสบปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคจิตเวช ขณะเดียวกันอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนสถานการณ์ที่ท้าทายซึ่งส่งผลต่อ “ปีสุขภาวะ” ของประชากร และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย
ประเด็นสำคัญที่รายงานฉบับนี้สะท้อนคือ “สุขภาพจิตคนไทยอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง” โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนอายุ 15–29 ปี ที่เผชิญภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงที่สุด โดยมีปัจจัยเร่งทั้งจากการเรียน สื่อสังคมออนไลน์ (FOMO) ความรุนแรงในครอบครัว และความคาดหวังจากสังคม ในมิติสุขภาพจิตเชิงบวก พบกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ 45–59 ปี มีระดับความสุขต่ำที่สุด สะท้อนถึงความเปราะบางทางอารมณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต
ในโลกดิจิทัล คนเอเชีย 1 ใน 3 ติดสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและความนับถือตนเองต่ำ ส่วนการใช้สารเสพติด เช่น กัญชา สุรา และบุหรี่ ถูกชี้ว่าเป็นอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจิตเวช โดยพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจิตเวชมีประวัติการใช้สารเหล่านี้ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงในชุมชน ผลกระทบจาก Megatrends เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว เทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมโลก ที่กำลังกดทับสุขภาพจิตของประชาชนไทยในระยะยาว ในด้านความรู้ คนไทยเกือบ 1 ใน 3 มีความรอบรู้สุขภาพจิตในระดับสูง แต่ยังมีอคติและความเข้าใจผิดอยู่มาก เช่น มองว่าการฆ่าตัวตายคือความอ่อนแอ
ในเชิงระบบบริการ ปี 2567 มีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการถึง 4.4 ล้านคน แต่ระบบบริการสุขภาพจิตของไทยยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะจิตแพทย์เด็กที่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ เกือบ 40% ขณะที่หลายจังหวัดยังไม่มีจิตแพทย์ประจำการ หมวดสุดท้ายของตัวชี้วัดได้เสนอให้เร่งยกระดับนโยบายสุขภาพจิตในระดับชาติ ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และการจัดการข้อมูล เพื่อลดช่องว่างเชิงโครงสร้าง และสร้างสังคมไทยที่ดูแล “ใจ” อย่างทั่วถึงและยั่งยืน
- บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก กระทบเยาวชนโดยตรง แต่ขาดมาตรการควบคุมที่ชัดเจน “บุหรี่ไฟฟ้า” กำลังกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าวิตก โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัย กลิ่นรสหลากหลาย และความเข้าใจผิดว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้เยาวชนจำนวนมากหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดมาตรการควบคุมที่ชัดเจนทั้งในเชิงกฎหมาย การบังคับใช้ และการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นช่องโหว่ของระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน
แม้จะมีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า ที่พบว่ามีแนวโน้มก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และสมองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในวัยที่ร่างกายและสมองยังไม่เจริญเต็มที่ รวมทั้งการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้ายังง่ายดายอย่างมาก โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ และยังไม่มีการจัดการหรือจำกัดการโฆษณาอย่างเป็นรูปธรรม
แม้จะมีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า ที่พบว่ามีแนวโน้มก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และสมองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในวัยที่ร่างกายและสมองยังไม่เจริญเต็มที่ รวมทั้งการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้ายังง่ายดายอย่างมาก โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ และยังไม่มีการจัดการหรือจำกัดการโฆษณาอย่างเป็นรูปธรรม
ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เสริมสร้างความรู้ในกลุ่มเยาวชน สื่อสารความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างชัดเจนต่อเนื่อง และสร้างความร่วมมือกับครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามกลายเป็นวิกฤตสุขภาพในอนาคต
- ชีวิตติดหนี้: ปัญหาใหญ่ครัวเรือนไทยที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิต อีกหนึ่งสัญญาณเตือนสำคัญที่รายงานสุขภาพคนไทย 2568 ชี้ให้เห็น คือ “ปัญหาหนี้ครัวเรือน” ที่พุ่งสูงจนกลายเป็นความเสี่ยงเชิงโครงสร้างของประเทศ โดยครัวเรือนไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับภาวะหนี้สินเรื้อรัง โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงและการบังคับใช้ที่รุนแรง ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว แต่ยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ภายในครัวเรือน
รายงานชี้ว่า ปัญหาหนี้มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยสุขภาวะในหลายมิติ ทั้งการเข้าถึงการศึกษา การเลี้ยงดูบุตร และความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว หนี้สินที่ล้นพ้นตัวยังเป็นหนึ่งในปัจจัยเร่งของความเครียด วิตกกังวล และความรู้สึกไร้ทางออก โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานและครัวเรือนที่มีรายได้ไม่แน่นอน
ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกันและเยียวยา โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมแหล่งหนี้นอกระบบ การส่งเสริมความรู้ทางการเงินตั้งแต่ในระบบการศึกษา และการพัฒนาระบบสวัสดิการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นของครัวเรือน
10 สถานการณ์เด่น และ 4 ผลงานดีๆเพื่อสุขภาพคนไทย ยังได้รวบรวมประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคมไว้อีกหลายประเด็น ได้แก่
- แก้กฎหมายสุรา: จับตาผลกระทบด้านสังคมและสุขภาพ
- บุหรี่ไฟฟ้า ภัยคุกคามสุขภาพที่บุกเกมรุก
- กัญชาทางการแพทย์กับความสับสนทางนโยบาย
- ประเทศไทยกับวันที่กาสิโนถูกกฎหมาย: อาจได้ไม่คุ้มเสีย
- ถอดบทเรียน “ดิไอคอน” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ แชร์ลูกโซ่
- อุบัติเหตุรถบัสโดยสาร: หลากหลายคำถามเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย
- การจัดการน้ำท่วมในภาคเหนือ: ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
- ปลาหมอคางดำ กับการรับมือเอลียนสปีชีส์ในไทย
- ความซับซ้อนของมาตรการของรัฐในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมและขยะอันตราย
- ชีวิตติดหนี้: ปัญหาใหญ่ครัวเรือนไทย
พร้อมนำเสนอ 4 ผลงานเพื่อสุขภาพคนไทย ได้แก่
- บุหรี่ไฟฟ้า ภัยคุกคามสุขภาพที่บุกเกมรุก
- กัญชาทางการแพทย์กับความสับสนทางนโยบาย
- ประเทศไทยกับวันที่กาสิโนถูกกฎหมาย: อาจได้ไม่คุ้มเสีย
- ถอดบทเรียน “ดิไอคอน” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ แชร์ลูกโซ่
- อุบัติเหตุรถบัสโดยสาร: หลากหลายคำถามเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย
- การจัดการน้ำท่วมในภาคเหนือ: ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
- ปลาหมอคางดำ กับการรับมือเอลียนสปีชีส์ในไทย
- ความซับซ้อนของมาตรการของรัฐในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมและขยะอันตราย
- ชีวิตติดหนี้: ปัญหาใหญ่ครัวเรือนไทย
พร้อมนำเสนอ 4 ผลงานเพื่อสุขภาพคนไทย ได้แก่
- ยกย่อง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นรัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย
- ขบวนการแพทย์ชนบทไทยได้รับรางวัลแมกไซไซ
- ยาอดยาบ้าไทยได้รับรางวัลนวัตกรรมนานาชาติ
- ผลักดัน กองทุนสุขภาพจิตและจิตเวช ดูแลสุขภาพจิตประชาชน
สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม และติดตามบทความวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ www.thaihealthreport.com
- ขบวนการแพทย์ชนบทไทยได้รับรางวัลแมกไซไซ
- ยาอดยาบ้าไทยได้รับรางวัลนวัตกรรมนานาชาติ
- ผลักดัน กองทุนสุขภาพจิตและจิตเวช ดูแลสุขภาพจิตประชาชน
สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม และติดตามบทความวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ www.thaihealthreport.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น