กรุงเทพฯ 19 สิงหาคม ๒๕๖๒ : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) หรือGITจัดงานตัดสินรอบคัดเลือกแบบวาดเครื่องประดับ ในโครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 13 (GIT’s World Jewelry Design Awards 2019) พร้อมตัดสิน ผลการประกวดพลอยเจียระไน ชิงเงินรางวัล มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท หรือ 35,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดสามารถของนักออกแบบและช่างเจียระไนพลอยรุ่นใหม่สู่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับตอบ โจทย์ความต้องการผู้ประกอบการในปัจจุบัน
นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการสถาบัน เผยว่า โครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับในปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ "Blue by Day, Green By Evening, Red by Night” เน้นการออกแบบ เครื่องประดับที่มีอัญมณีสีแดง สีน้ำเงิน และ สีเขียว เป็นองค์ประกอบหลักในชิ้นงาน อีกทั้งยังได้จัดการ ประกวดพลอยเจียระไน สำหรับช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรี และช่างเจียระไนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการเจียระไนรวมถึงช่างเจียระไนได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือให้เข้าสู่วงการ มาตรฐานระดับโลกชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท หรือ 35,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ โดยครั้งนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบเครื่องประดับจำนวนมากถึง 660 ผลงาน จากทั่วโลก เป็นผลงานจากนักออกแบบชาวไทยจำนวน 557 ผลงาน และต่างชาติ 103 ผลงาน โดยมาจาก 14 ประเทศ ทั่วโลก
สำหรับการตัดสินแบบวาดในรอบนี้ สถาบันได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ร่วมใน การตัดสิน ได้แก่ นางสุพัตรา ศรีสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี และเครื่องประดับแห่งชาติ นางสิริพร ภาณุพงศ์ อดีตอัครรราชทูต ณ กรุงเวียนนา รองประธานกรรมการ สำนักกฎหมาย Royal Law หม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.วีรวัฒน์ สิริเวศมาส รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนายสุริยนต์ ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด
กรรมการได้ทำการคัดเลือก 30 ผลงานออกแบบ โดยจะพิจารณาแบบวาดเครื่องประดับที่ใช้ ซึ่งแบ่ง เป็น 2 ประเภท ได้แก่พลอยทับทิม หรือพลอยไพลิน หรือพลอยเนื้ออ่อนในเฉดสีที่ใกล้เคียง 15 ผลงาน และ ประเภทพลอยสีเขียว โดยคัดเลือกแบบวาดเครื่องประดับที่ใช้พลอยเพอริโด หรือพลอยเฉดสีใกล้เคียง จำนวน 15 ผลงาน ในท้ายสุดจะคัดเลือก ประเภทละ 4 ชิ้นงาน ที่ได้คะแนนสูงสุดของแต่ละประเภท รวมเป็น 8 ชิ้นงาน ไปผลิตเป็นเครื่องประดับจริง เพื่อตัดสินรอบชิงชนะเลิศในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 โดยมีรายชื่อดังนี้
ผลงานการประกวดประเภทพลอยสีแดง และ น้ำเงิน
1.นางสาว อาทิตยา ผลสุข ชื่อผลงาน Blue Deco
2.นางสาว Wansa Phaerakkakit ชื่อผลงาน The Blue Macaw
3.นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ ชื่อผลงาน . The power of gems
4.นาย Sippakorn Oudkom ชื่อผลงาน Rose in the Night
1.นางสาว อาทิตยา ผลสุข ชื่อผลงาน Blue Deco
2.นางสาว Wansa Phaerakkakit ชื่อผลงาน The Blue Macaw
3.นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ ชื่อผลงาน . The power of gems
4.นาย Sippakorn Oudkom ชื่อผลงาน Rose in the Night
ผลงานการประกวดประเภทพลอยสีเขียว
1 นาย ชาญชัย ดวงระหว้า ชื่อผลงาน Bamboo
2 นางสาว ปวันรัตน์ ปัญจไชย ชื่อผลงาน Grass in Evening
3 นาย อำพล แตระพรพาณิชย์ ชื่อผลงาน Salika
4. Ms. Reyhaneh Ettehad ชื่อผลงาน . Green Calm
ผู้สำรอง
นางสาว กนกพร พัฒนเลิศพันธ์ ชื่อผลงาน The elegance of Thai Silk
1 นาย ชาญชัย ดวงระหว้า ชื่อผลงาน Bamboo
2 นางสาว ปวันรัตน์ ปัญจไชย ชื่อผลงาน Grass in Evening
3 นาย อำพล แตระพรพาณิชย์ ชื่อผลงาน Salika
4. Ms. Reyhaneh Ettehad ชื่อผลงาน . Green Calm
ผู้สำรอง
นางสาว กนกพร พัฒนเลิศพันธ์ ชื่อผลงาน The elegance of Thai Silk
นอกจากนี้ สถาบันได้เปิดโอกาสให้ผู้ผ่านรอบคัดเลือกแบบวาดทั้ง 30 ผลงาน ร่วมแข่งประกวดชิง รางวัล Popular Design Award 2019 ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโหวตได้ ผ่านเว็บไซต์ www.gitwjda.com โดยเจ้าของ แบบวาดที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุดจะได้เงินรางวัล 1,000 USD หรือประมาณ 30,000 บาท และผู้ร่วมสนุก โหวตก็มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลเครื่องประดับพลอยแท้อีกด้วย
สำหรับการประกวดพลอยเจียระไน แบ่งการประกวดออกแบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รางวัล ประเภทช่างเจียระไนจันทบุรี และ ช่างเจียระไนพลอยทั่วไป โดยการประกวดครั้งนี้มีพลอยเจียระไนเข้าร่วม ประกวดทั้งสิ้น 82 เม็ด แบ่งเป็นประเภทช่างเจียระไนจันทบุรี 22 เม็ด และช่างเจียระไนทั่วไปทั้งชาวไทยและ ต่างชาติ รวม 60 เม็ด ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุรินทร์ อินทรยศ ตำแหน่ง คณะบดีคณะอัญมณี มหาวิทยาลัย บูรพา วิทยาเขคจันบุรี นายเผด็จ ภู่อากาศ ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝึกฝีมือแรงงาน จันทบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการ เจียระไนพลอย และ นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการเทคนิค สถาบันวิจัย และพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เป็นกรรมการตัดสิน
โดยประกาศผลผู้ชนะเลิศในวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภท ดังนี้
ประเภทช่างเจียระไนจันทบุรี
-รางวัลชนะเลิศ มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย อำนาจ ทองดา ชื่อผลงาน แดง
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย ธีรศักดิ์ ทองดา
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นายวิสุทธิ์ ไขสรี
ประเภทช่างเจียระไนจันทบุรี
-รางวัลชนะเลิศ มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย อำนาจ ทองดา ชื่อผลงาน แดง
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย ธีรศักดิ์ ทองดา
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นายวิสุทธิ์ ไขสรี
ประเภทช่างเจียระไนทั่วไป
-รางวัลชนะเลิศ มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นางสาว กัลยา สิรินิมิตกุล
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาง ถวิล ตูนา
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย นิวัฒน์ ศรีสุรินทร์
-รางวัลชนะเลิศ มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นางสาว กัลยา สิรินิมิตกุล
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,500 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาง ถวิล ตูนา
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นาย นิวัฒน์ ศรีสุรินทร์
สถาบัน กำหนดจัดพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบเครื่องประดับ และประกวดพลอย เจียระไน พร้อมด้วยนิทรรศการแสดง ผลงานของ ผู้เข้าประกวด ในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 ภายในงานแสดง สินค้า “เทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2019” ณ จังหวัดจันทบุรี เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประกวดครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบ และ ช่างเจียระไนพลอย สู่อุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับไทย เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีไทยให้ไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าและการ ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับอย่าง ครบวงจร” นางดวงกมล เจียมบุตร กล่าวปิดท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม โทร 02 634 4999 ต่อ 301 - 313
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม โทร 02 634 4999 ต่อ 301 - 313
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น