"มะเร็งเต้านม" ไม่ได้เป็นแค่ในผู้หญิง ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นได้ แนะผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป หมั่นตรวจคัดครอง รู้ก่อน รักษาก่อน - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

"มะเร็งเต้านม" ไม่ได้เป็นแค่ในผู้หญิง ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นได้ แนะผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป หมั่นตรวจคัดครอง รู้ก่อน รักษาก่อน


ภัยเงียบของผู้หญิง ไร้ซึ่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า มะเร็งเต้านม นับเป็นภัยเงียบของผู้หญิงเพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน โดยเป็นโรคร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทย คิดเป็น 20-30 % ของมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิง ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เป็นปัญหาแต่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นปัญหาผู้หญิงทั่วโลกเลยทีเดียว

ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ หลายคนอาจคิดว่ามะเร็งเต้านมมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน จากสถิติพบว่าเมื่อมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมา จะเป็นผู้ป่วยเพศหญิงกว่า 100 คน และจะเป็นผู้ชายจำนวน 1 คน หรือคิดเป็นไม่เกิน 1% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด


ผู้หญิงอายุ 50 ปี กลุ่มเสี่ยงสูง นายแพทย์สุชาติ กฤตสิงห์ ศัลยแพทย์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทย์ประจำโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลว่า มะเร็งของเต้านม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนส์ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น ประจำเดือน กรรมพันธุ์ ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน การมีบุตรช้า การไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการใช้ยาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับฮอร์โมน ดังนั้น ฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้เร็วขึ้น ผู้หญิงจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในวัย 50 ปี จึงควรหลีกเลี่ยงในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการไม่ออกกำลังกาย


คลำเจอก้อนที่เต้านมรีบพบแพทย์ อันดับต้น ๆ ของผู้ที่มาพบแพทย์ มักจะมาด้วยสาเหตุที่ว่า คลำเจอก้อนที่เต้านม นอกจากนี้ ยังมาด้วยพบเลือดออก หรือ มีน้ำผิดปกติออกจากหัวนม ซึ่งไม่ได้มาจากการตั้งครรภ์และให้นมบุตร บางรายมีอาการเจ็บหรือปวดที่บริเวณเต้านม ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นอาการเบื้องต้น หากคลำเต้านมด้วยตนเองแล้วพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด

หมั่นตรวจคัดกรอง รู้ก่อน รักษาก่อน ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก มีวิธีการรักษาที่ดี ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดน้อยลง ดังนั้น ควรหมั่นตรวจเช็คคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ที่มีประวัติอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจคัดกรองได้เมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจคัดกรองโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการเอกซเรย์เต้านม


วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในเบื้องต้นสามารถตรวจด้วยตนเองได้ และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน โดยมี ท่านอนราบ นอนราบในท่าสบาย ใช้ผ้าขนหนูม้วนหรือใช้หมอนรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่จะตรวจ ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้ ท่ายืนหน้ากระจก ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้ง 2 ข้าง ยกแขนขึ้น 2 ข้างประสานกันเหนือศีระษะ สังเกตรอยดึงรั้ง หรือรอยบุ๋ม มือท้าวเอวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า 


ส่วนทิศทางการคลำ สามารถคลำแบบก้นหอยหรือแบบตามเข็มนาฬิกา คลำจากบริเวณหัวนม วนออกตามเข็มนาฬิกา ไปจนถึงบริเวณรักแร้ คลำแบบแนวนอนขึ้นลงขนานกับลำตัว คลำโดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง คลำสลับขึ้นลงไปมาทีละแถว ให้ทั่วทั้งเต้านม คลำแบบรัศมีรอบเต้านมหรือคลำแนวคลื่น เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมเข้าหาฐานหัวนม และทำซ้ำเป็นรัศมีรอบเต้านม

นอกจากการตรวจด้วยตนเองแล้ว ยังมี การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม ใช้คลื่นความถี่สูง เหมาะสำหรับคนอายุน้อย หากตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อ สามารถบอกได้ว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และการตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลเมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ สามารถตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติได้อย่างละเอียด ทำให้ค้นพบมะเร็งระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเยื่อเต้านมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจดูกลมกลืนกับเนื้อร้าย

เสริมหน้าอกไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม การผ่าตัดเสริมหน้าอก ไม่ได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งผู้ที่เสริมหน้าอกสามารถตรวจคัดกรองได้ตามปกติ ด้วยการเอกซเรย์โดยวิธีเมมโมแกรม แต่อาจจะตรวจละเอียดกว่าผู้ที่ไม่ได้เสริมหน้าอก เนื่องจากมีซิลิโคนขวางอยู่

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม หรือเรื่องสุขภาพอื่น ๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ได้ทั้ง 9 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร โรงพยาบาลศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร และสามารถติดตามสาระดี ๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก: Principal Healthcare Company

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here