สอศ.พาชมสถานศึกษาเปิดเทอมรับสถานการณ์แพร่ระบาด โควิด-19 ระหว่าง 2-3 กรกฏาคม - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สอศ.พาชมสถานศึกษาเปิดเทอมรับสถานการณ์แพร่ระบาด โควิด-19 ระหว่าง 2-3 กรกฏาคม


นางสุนันทา พลโภชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มประชาสัมพันธ์ นำคณะสื่อมวลชน เยี่ยมชม การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสถานการณ์การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่างเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสรรค์ และวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร 


ในวันที่ 2 กรกฏาคม คณะสื่อมวลชนเข้าเชี่ยมวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ โดยมี ดร.สุรางค์ อภิรมย์วิไลชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ ให้การต้อนรับ ซึ่งในโอกาสนี้ ดร.สุรางค์ ได้พาคณะเยี่ยมชมสถานศึกษาและห้องเรียนสมาร์ท มัลติมีเดียซึ่งเป็นสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษาของวิทยาลัย


วันที่ 3 กรกฏาคม คณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร นายรชต ดิลกรัชตสกุล รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรให้การต้อนรับนำชมสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย


ในโอกาสนี้คณะสื่อมวลชนได้เข้าชม ศูนย์บริรักษ์ไทย ศูนย์การเรียนรู้งานศิลปะ ประณีตศิลป์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยมี ดร.รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์ เป็นผู้นำชม พร้อมทั้งสาธิตการพัฒนาอาหารไทย เช่นการทำขนมทุเรียนที่พัฒนามาจากขนมตาล การทำแกงกระท้อนเป็ดย่างและการแกะฉลักกระท้อนลอยแก้วเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์


ดร.รุ่งธรรมอธิบายถึงการพัฒนาอาหารไทยว่า ตนเป็นอาจารย์คณะคหกรรม สอนวิชาธุรกิจคหกรรม จึงพยายามคิดค้นแนวทางที่จะเพิ่มมูลค่าของอาหารไทยเพื่อถ่ายทอดให้ลูกศิษย์อยู่เสมอ สำหรับขนมทุเรียนนี้เกิดจากการที่ภายในวิทยาลัยมีต้นตาล เมื่อลูกตาลหล่นอาจารย์ท่านหนึ่งเก็บมาให้เพื่อทำขนม หลังจากทำขนมตาลแล้วก็คิดว่า น่าจะดัดแปลงทำขนมทุเรียนได้ เพราะเป็นฤดูทุเรียนออกผลและในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกทุเรียนกันมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่อำเภอคลอง ส่วนกระท้อนนั้นสามารถนำมาใส่แกงเป็ดย่างเพื่อให้มีรสเปรี้ยวแทนองุ่นได้ และคิดว่า ถ้าหากมาฉลักให้เป็นลวดลายก็สามารถเพิ่มมูลค่าของกระท้อนลอยแก้วให้สูงขึ้น


เป้าหมายต่อไป ดร.รุ่งธรรมตั้งใจว่าจะพัฒนาอาหารไทยทั้งคาวและหวานด้วยวัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด

นายรชตกล่างเสริมว่า วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรได้จัดให้มีการอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นมาอย่างต่อเนื่องและโดยเฉพาะวิชาชีพด้านคหกรรมทั้งในส่วนของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องแขวน การตกแต่งพานพุ่ม บายศรีและอาหารที่ ดร.รุ่งธรรมสอน มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมเป็นอันมาก ซึ่งทางผู้บริหารวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องและเตรียมที่จะเพิ่มการอบรมให้มากขึ้นเพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และต้องการเป็นผู้ประกอบการอิสระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here