GIT เร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

GIT เร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน


นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT เปิดเผยว่า
GIT เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบเครื่องประดับไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ให้ความสำคัญ และยกระดับนักออกแบบไทยผ่านงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับ และเชิญชวนผู้ประกอบการและนักออกแบบเข้าชมงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ ลานไลฟ์-สไตล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นเวทีให้นักออกแบบเครื่องประดับไทยได้แสดงความสามารถสู่นานาชาติ พร้อมมองอนาคตหนุนนักออกแบบไทยให้ก้าวไปยืนบนเวทีโลก


การประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 ภายใต้แนวคิด "Intergeneration Jewelry" - jewelry for every generation ซึ่งตรงกับแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับเพื่อทุกคน (Design for all) ที่เครื่องประดับนี้ได้หล่อหลอมและรังสรรค์ก้าวข้ามข้อจำกัดคนในแต่ละเจเนอเรชั่น และสวมใส่ได้ทุกช่วงวัย
ในการจัดงานครั้งนี้สถาบันได้ดึงผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการออกแบบเครื่องประดับจาก สถาบันที่มีชื่อเสียงจากอิตาลี เกาหลีและอิหร่าน มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ และมีแนวทางในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการออกแบบทั้งในยุโรปและเอเชีย เพื่อต่อยอดนำนักออกแบบไทยเข้าร่วมงานในระดับโลกต่อไป สำหรับการประกวดในครั้งนี้ นักออกแบบที่ชนะเลิศและเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ มีนักออกแบบไทยถึง 3 คน จากผู้ส่งแบบเข้าประกวดจากทั่วโลกกว่า 402 ชิ้นงาน จาก 27 ประเทศ โดยผลงาน 30 ชิ้นที่เข้ารอบจะได้ถูกแสดงแบบวาดในงานประกาศผลชนะเลิศโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระ-ศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และผลงานสี่ชุดที่โดดเด่น เป็นของนักออกแบบไทยถึงสามคน โดยได้ผลิตเป็นชิ้นงานจริงพร้อมสวมบนนางแบบและดาราในงานพิธีในครั้งนี้ด้วย โดยรับเกียรติจาก นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ประธานกรรมการสถาบันเป็นประธานในพิธี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำของไทยในเวทีนานาชาติ


โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัด บริษัท คาเล็ทต้า จิวเวล-รี่ จำกัด บริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัด บริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด L.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัท เทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้ง จำกัด พรีเมียร่า - เอ็กซ์ควิซิท จิวเวลรี่ และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด


สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 มีดังนี้
  -รางวัลชนะเลิศ นาย สุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา จากประเทศไทย กับ ผลงาน ความเชื่อในตรีโกณมิติ (Trigonolism) ได้รับเงินสด 4,000 เหรียญสหรัฐ และ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  -รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 / รางวัล Popular Vote นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และนางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทย กับ ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 3,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ
  -รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ จากประเทศไทย กับผลงาน รูปทรง เรขาคณิต (Geometry) ได้รับเงินสด 1,500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ
  -รางวัลชมเชย Mrs. Soheila Hemmati จากประเทศอิหร่าน กับผลงาน Pearls for all generations ได้รับเงินสด 1,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ
  -รางวัลพิเศษ Popular Vote นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และนางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทย กับ ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ


นอกจากนี้ สถาบันก็ยังได้นำผลงานที่ผ่านเข้ารอบมาจัดแสดงในรูปแบบของ Art Gallery Online ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมอง และสร้างแรงบันดาลใจผ่านการออกแบบให้นักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมผลงานที่ผ่านเข้ารอบได้ที่ www.facebook.com/gitwjda สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทร. 02 634 4999 ต่อ 311-313


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here