โรงพยาบาล พญาไท 2 นำนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่า คืนชีวิตที่หายไปให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวได้อิสระ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

โรงพยาบาล พญาไท 2 นำนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่า คืนชีวิตที่หายไปให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวได้อิสระ


โรงพยาบาล พญาไท 2 นำนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่า คืนชีวิตที่หายไปให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวได้อิสระ พร้อมประกาศความพร้อม เป็นฮับในการรักษาข้อเข่าเสื่อมในระดับภูมิภาค


นพ.อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า
สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้นำนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่า (Robotic Assisted Surgery) ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมศักยภาพของการทำงานของหุ่นยนต์ให้ดียิ่งขึ้นผ่านประสบการณ์ของศัลยแพทย์ ช่วยให้การผ่าตัดของทีมศัลยแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยศัลยแพทย์ป้อนข้อมูลของคนไข้ลงไป คอมพิวเตอร์จะสร้างภาพ 3 มิติของข้อเข่าของคนไข้ขึ้นบนจอภาพ ด้วยข้อมูลต้นแบบข้อกระดูกจากหลายประเทศเป็นล้านๆ แบบ ที่บรรจุอยู่ในหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ศัลยแพทย์สามารถหมุนดูภาพได้ทุกมุมทุกพื้นที่ของบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เมื่อเห็นภาพอย่างชัดเจน จึงทำให้ตลอดกระบวนการการผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงจุด โดยคนไข้ไม่ต้องเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อวางแผนการผ่าตัด ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการตรวจ รอผล และอ่านผลจากการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รวมถึงลดการเจอรังสีจากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


การพัฒนาให้นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่า มีความแม่นยำมากขึ้นในระหว่างการทำการผ่าตัด (Accuracy)
ช่วยทำให้ศัลยแพทย์วางตำแหน่งข้อเข่าเทียมได้แม่นยำมากขึ้นในระดับมิลลิเมตร โดยในปีหน้าตั้งเป้าเร่งพัฒนาทั้งสถานที่ และเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยใช้งบไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท มุ่งการรักษาให้มีประสิทธิภาพ และศักยภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมรองรับการเปิดประเทศที่มีผู้ป่วยจากต่างชาติเข้ามารักษามากขึ้น


ด้าน ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ แพทย์ออร์โธปีดิกส์เฉพาะทางข้อเข่าและข้อสะโพก และผู้อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อ รพ.พญาไท 2 ระบุ การใช้ระบบหุ่นยนต์ที่ช่วยในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ทำให้มีความแม่นยำได้ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ และยังทำให้คนไข้มีแผลเล็ก ฟื้นตัวและกลับบ้านได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันคนไทยมีการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมปีละ 30,000-40,000 ราย จากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยที่ข้อเข่าเสื่อม 3-4 ล้านราย ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ถือว่ามีการผ่าตัดที่น้อยมาก สาเหตุจากการที่ผู้ป่วยกลัวว่าผ่าตัดแล้วจะเดินไม่ได้ ซึ่งการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยก็จะช่วยลดความกังวลได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here