“บุญรุ่ง เต๋งจงดี”เข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น.. พร้อมขอโอกาสได้รับเลือกเป็น สส.เขตลาดกระบัง - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566

“บุญรุ่ง เต๋งจงดี”เข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น.. พร้อมขอโอกาสได้รับเลือกเป็น สส.เขตลาดกระบัง


การจะได้รับเลือกให้เป็น สส.ของประชาชน จำเป็นต้องเข้าถึงทุกวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้ นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ผู้สมัครหมายเลข 1 นามพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) กรุงเทพมหานคร รู้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงลงพื้นที่ลาดกระบัง ไปยังชุมชนที่มีงานประเพณี รวมถึงการไปเยือนชุมชนชาวมุสลิม และชุมชนชาวมอญ


เมื่อวันที่ 22 เม.ย.66 นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ผู้สมัครหมายเลข 1 นามพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) กรุงเทพมหานคร พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ขอโอกาสพี่น้องประชาชนชาวลาดกระบัง ในการลงคะแนนให้ตัวเองได้เป็น สส.ทำหน้าที่รับใช้ชาวลาดกระบัง โดยเป้าหมายสำหรับวันนี้ คือ ชุมชนมิตรสามัคคีฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 4 โซน 10 / ชุมชนเคหะร่มเกล้า โซนหลังคาแดง 201 และเข้าพบผู้นำชาวชุมชนมุสลิม ที่มัสยิดรุ้ลมูฮีบบีน / เคหะร่มเกล้า 36 / เคหะชุมชน ร่มเกล้า โซน 3 / ชุมชนชาวมอญ เลียบคลองมอญ ลาดกระบัง


สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมงานรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย พร้อมทั้งพูดคุยและรับฟังปัญหาพี่น้องประชาชนที่ร่วมในงาน จากนั้นได้เข้าพบกับผู้นำชุมชนชาวมุสลิม เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาและความต้องการของพี่น้องชาวมุสลิม นำมาวางแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาต่อไป หากตนเองได้รับโอกาสเป็น สส.ในเขตพื้นที่ลาดกระบัง


ส่วนในช่วงเย็น มีพิธีสำคัญของชุมชนชาวมอญ ย่านเลียบคลองมอญ ลาดกระบัง เป็นพิธีสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย-รามัญ ณ ลานชุมชนเลียบคลองมอญ โดยประธานชุมชนให้การต้อนรับนายบุญรุ่ง พร้อมทีมงาน ซึ่งนายบุญรุ่ง ได้รับเกียรติให้ร่วมในการกวนกาละแมของชาวชุมชนมอญ และร่วมรับประทานอาหารของชาวมอญ ที่มีรสชาติความอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่หารับประทานได้ยาก


นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี กล่าวว่า
การที่จะเสนอตัวเข้ามาเป็น สส.รับใช้พี่น้องในท้องถิ่นนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเข้าถึงทุกกลุ่มชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น เพราะปัญหาต่างๆในแต่ละเขตพื้นที่ อาจจะเหมือนหรืออาจจะมีความแตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ดังนั้นการลงพื้นที่ไปพบกับผู้นำชุมชนและการร่วมในประเพณีวัฒนธรรมของชาวชุมชน ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาและวางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาต่อไป หากตนได้รับเลือกเป็น สส.ในเขตพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here