กรมควบคุมโรค มอบของขวัญวันสงกรานต์ ตรวจคัดกรอง “วัณโรค” แก่กลุ่มคนขับแท็กซี่ และรถโดยสารสาธารณะ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566

กรมควบคุมโรค มอบของขวัญวันสงกรานต์ ตรวจคัดกรอง “วัณโรค” แก่กลุ่มคนขับแท็กซี่ และรถโดยสารสาธารณะ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ


กรมควบคุมโรค ร่วมกับ องค์การอนามัยโลกและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จัดโครงการตรวจคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มคนขับแท็กซี่ รถตู้ และรถโดยสารประจำทาง เป็นของขวัญในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ พร้อมแนะประชาชนวัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ ขอให้รีบตรวจหาวัณโรคให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว


วันนี้ (7 เมษายน 2566) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย Dr.Deyer Gopinth ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย นายสรเพชร คลังศรี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการขนส่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ร่วมเปิดกิจกรรมรณรงค์ “ยุติวัณโรค รวมกันเราทำได้” (Yes! Together We can End TB on World TB Day 2023) สืบเนื่องในวันวัณโรคสากล ประจำปี 2566 โดยในงานมีการจัดให้บริการเอกซเรย์ปอดโดยรถเอกซเรย์ดิจิตอลเคลื่อนที่ บริการตรวจเสมหะด้วยเทคนิคทางโมเลกุลระดับอนูชีววิทยา ตรวจสุขภาพวัดความดันโลหิต ตรวจวัดดัชนีมวลกาย (BMI) และอื่นๆ มีบูธนิทรรศการให้ความรู้กับประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


นายแพทย์ธเรศ กล่าวว่า
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลกและประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกให้ประเทศไทยติด 30 ประเทศที่ปัญหาวัณโรคสูงที่สุดในโลก โดยคาดว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่เกิดขึ้นประมาณ 103,000 รายต่อปี และเสียชีวิตกว่า 12,000 รายต่อปี พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งทีมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค จากผู้โดยสารที่ป่วยเป็นวัณโรค ซึ่งรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ที่ต้องรับส่งผู้โดยสารหมุนเวียนตลอดเวลา มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อวัณโรคโดยไม่รู้ตัว หากมีผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถยนต์ หรือผู้โดยสารที่ป่วยวัณโรคอยู่ในรถ การไอหรือจาม สามารถทำให้เชื้อวัณโรคปะปนออกมา และหมุนเวียนอยู่ในรถยนต์โดยเฉพาะรถยนต์ปรับอากาศ ผู้ขับรถยนต์หรือผู้โดยสารรายใหม่ที่ยังไม่ป่วยวัณโรค ก็มีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายได้


กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ในฐานะที่เป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยตรง ได้ตระหนักและให้ความสำคัญถึงปัญหาวัณโรคมาโดยตลอด มีแผนงานและกิจกรรมที่จะผลักดันขับเคลื่อนนโยบาย การดำเนินงานป้องกัน ดูแล รักษา และควบคุมวัณโรคของประเทศ เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายจากวัณโรค ซึ่งการดำเนินงานจะประสบความสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทุกๆ ระดับของการดำเนินงาน ทั้งที่อยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จากช่วงของการระบาดของโควิค 19 สามปีที่ผ่านมา เราทำงานกันอย่างหนักทั้งควบคุมป้องกันโควิค 19 และควบคุมป้องกันวัณโรคไปด้วย จนประสบความสำเร็จ


ด้านแพทย์หญิงผลิน กมลวัทน์ ผู้อำนวยการกองวัณโรค กล่าวเสริมว่า สืบเนื่องจากวันวัณโรคสากลประจำปี 2566 ที่ผ่านมา กองวัณโรค กรมควบคุมโรค เล็งเห็นถึงสุขภาพของพี่น้องผู้ขับขี่รถสาธารณะเป็นสำคัญ จึงร่วมกับองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดกิจกรรม “ยุติวัณโรค รวมกันเราทำได้” สืบเนื่องจากวันวัณโรคสากล ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย ได้คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก สำหรับกลุ่มผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ พี่น้องผู้ขับรถแท็กซี่ และพี่น้องประชาชนผู้สนใจ นำเข้าสู่กระบวนการการรักษาตามมาตรฐาน ลดการแพร่ระบาดของวัณโรค และถ่ายทอดความรู้ สื่อสารความเสี่ยงต่างๆ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างกระแสความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการป้องกันควบคุมวัณโรค


ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่า “วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย” โดยขอให้ประชาชนรีบตรวจหาวัณโรคให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ว่าป่วยเป็นวัณโรคได้เร็ว และทำการรักษาได้เร็ว ก็สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่นได้ และให้สังเกตอาการของวัณโรค โดยเริ่มจากไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ มีไข้ต่ำๆ ในช่วงบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด หากพบผู้ที่มีอาการดังกล่าว ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ในโรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้เร็ว ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองวัณโรค โทร. 02 211 2224 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here