ภาคีสมาชิกสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศ ร่วมให้ความเห็นชอบ 3 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 “ระบบสุขภาวะทางจิต-การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่-ส่งเสริมการพัฒนาประชากร” เตรียมเดินหน้าข้อเสนอเข้าสู่ที่ประชุม คสช.-ครม. พร้อมประกาศธีมใหม่ใช้ในกระบวนการสมัชชาฯ ครั้งที่ 17 “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน”
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 ภายใต้ประเด็นหลัก “ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ โอกาสและความหวังอนาคตประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค. 2566 โดยภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศ ได้ร่วมกันให้ความเห็นชอบและรับรองมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จำนวน 3 มติ ประกอบด้วย
1. ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง
2. การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่
3. การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สำหรับมติที่ 1 “ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง” มีกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) ในการที่จะพัฒนาระบบสุขภาวะทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนและทุกระดับของสังคม อันครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาทักษะสุขภาพจิตส่วนบุคคล พฤติกรรม วิถีชีวิต การเยียวยารักษา ไปจนถึงการออกแบบและพัฒนานโยบายที่เป็นไปตามหลักสากล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตที่ดีสำหรับทุกคนในประเทศไทย...
...พร้อมกันนี้ ยังมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต, มูลนิธิแพธทูเฮลท์, โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
ในส่วนของมติที่ 2 “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” มีกรอบทิศทางนโยบายในการที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ในลักษณะหุ้นส่วนของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มเครือข่าย โดยมีแผนบูรณาการกับ คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนในระดับพื้นที่...
...หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ นี้ ไม่ว่าจะเป็น กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมทรัพยากรน้ำ, กรมชลประทาน, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
ในด้านมติที่ 3 “การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ” มีกรอบทิศทางนโยบายในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดและเติบโตเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยการดำเนินการผ่าน
สำหรับมติที่ 1 “ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง” มีกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) ในการที่จะพัฒนาระบบสุขภาวะทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนและทุกระดับของสังคม อันครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาทักษะสุขภาพจิตส่วนบุคคล พฤติกรรม วิถีชีวิต การเยียวยารักษา ไปจนถึงการออกแบบและพัฒนานโยบายที่เป็นไปตามหลักสากล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตที่ดีสำหรับทุกคนในประเทศไทย...
...พร้อมกันนี้ ยังมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต, มูลนิธิแพธทูเฮลท์, โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
ในส่วนของมติที่ 2 “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” มีกรอบทิศทางนโยบายในการที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ในลักษณะหุ้นส่วนของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มเครือข่าย โดยมีแผนบูรณาการกับ คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนในระดับพื้นที่...
...หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ นี้ ไม่ว่าจะเป็น กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมทรัพยากรน้ำ, กรมชลประทาน, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
ในด้านมติที่ 3 “การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ” มีกรอบทิศทางนโยบายในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดและเติบโตเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยการดำเนินการผ่าน
1. การสร้างแรงขับเคลื่อนทางสังคมครั้งใหญ่ให้เห็นถึงความสำคัญ
2. การมีนโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัว ที่เอื้อต่อการมีและดูแลบุตร
3. การนำแนวคิดชุมชนนำ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก
4. การพัฒนาระบบสนับสนุนเพื่อเป็นฐานในการวางนโยบายที่มีประสิทธิภาพในระยะต่อไป...
...ขณะที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ นี้ ไม่ว่าจะเป็น กรมอนามัย, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA), องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), กระทรวงแรงงาน, สภาการศึกษา รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ครั้งที่ 15-16 พ.ศ. 2565-2566 เปิดเผยว่า กระบวนการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 16 นี้ ได้ดำเนินมาตลอดปี 2566 ผ่านขั้นตอนกิจกรรมต่างๆ ที่มีผู้คนจำนวนมากและหลากหลายเข้าร่วมนําเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ผ่านชั่วโมงการทำงานร่วมกันมากกว่า 15,000 ชั่วโมง จนได้เนื้อหาของข้อเสนอนโยบายสาธารณะทั้ง 3 มตินี้ ที่มีความแจ่มชัดและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการได้สมดังเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
นายชาญเชาวน์ กล่าวว่า ในส่วนขั้นตอนของข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะทั้ง 3 มติ ที่ภาคีสมาชิกสมัชชาสุขภาพร่วมกันให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้มีมติรับทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป
นอกจากนี้ในช่วงท้ายของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ยังได้มีพิธีส่งมอบงานจาก คจ.สช. ครั้งที่ 15-16 พ.ศ. 2565-2566 สู่ คจ.สช. ครั้งที่ 17-18 พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งมี นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ เป็นประธาน พร้อมมีการประกาศประเด็นหลัก (Theme) ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 ที่จะจัดขึ้นภายใต้ Theme “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน”
นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธาน คจ.สช. ครั้งที่ 17-18 พ.ศ. 2567-2568 กล่าวว่า ความหมายของเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ (New Era Thai Economy) คือเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและอนาคต ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญา และมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนและสุขภาวะ ของคนทุกคน ตลอดทั้งสังคมและระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมให้มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเรื่องนี้เป็นธีมหลักที่จะถูกใช้ในกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า ในส่วนของกรอบแนวทางการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17-18 นั้น จะมีด้วยกัน 4 ข้อ ประกอบด้วย
...ขณะที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนมติฯ นี้ ไม่ว่าจะเป็น กรมอนามัย, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA), องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), กระทรวงแรงงาน, สภาการศึกษา รวมถึงสมัชชาสุขภาพจังหวัดต่างๆ เป็นต้น
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ครั้งที่ 15-16 พ.ศ. 2565-2566 เปิดเผยว่า กระบวนการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 16 นี้ ได้ดำเนินมาตลอดปี 2566 ผ่านขั้นตอนกิจกรรมต่างๆ ที่มีผู้คนจำนวนมากและหลากหลายเข้าร่วมนําเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ผ่านชั่วโมงการทำงานร่วมกันมากกว่า 15,000 ชั่วโมง จนได้เนื้อหาของข้อเสนอนโยบายสาธารณะทั้ง 3 มตินี้ ที่มีความแจ่มชัดและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการได้สมดังเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
นายชาญเชาวน์ กล่าวว่า ในส่วนขั้นตอนของข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะทั้ง 3 มติ ที่ภาคีสมาชิกสมัชชาสุขภาพร่วมกันให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้มีมติรับทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป
นอกจากนี้ในช่วงท้ายของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ยังได้มีพิธีส่งมอบงานจาก คจ.สช. ครั้งที่ 15-16 พ.ศ. 2565-2566 สู่ คจ.สช. ครั้งที่ 17-18 พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งมี นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ เป็นประธาน พร้อมมีการประกาศประเด็นหลัก (Theme) ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 ที่จะจัดขึ้นภายใต้ Theme “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน”
นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธาน คจ.สช. ครั้งที่ 17-18 พ.ศ. 2567-2568 กล่าวว่า ความหมายของเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ (New Era Thai Economy) คือเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและอนาคต ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญา และมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนและสุขภาวะ ของคนทุกคน ตลอดทั้งสังคมและระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมให้มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเรื่องนี้เป็นธีมหลักที่จะถูกใช้ในกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า ในส่วนของกรอบแนวทางการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17-18 นั้น จะมีด้วยกัน 4 ข้อ ประกอบด้วย
1. คัดเลือกประเด็นที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เน้นเป็นประเด็นระดับประเทศ และมีหน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติเป็นเจ้าภาพหลัก
2. ปรับกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่สอดคล้องกับประเด็นสถานการณ์และเทคโนโลยี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมเป็นเจ้าของ จนได้ข้อเสนอที่มีความพร้อมทางวิชาการ และมีเครือข่ายหน่วยงานหรือองค์กรพร้อมร่วมขับเคลื่อนชัดเจน
3. มีการบูรณาการในการพัฒนานโยบาย (ขาขึ้น) และขับเคลื่อนเชิงระบบ (ขาเคลื่อน) รวมทั้งเชื่อมโยงการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานภาคีระดับพื้นที่และสมัชชาสุขภาพจังหวัด 4. จัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้วยวิธีการที่ยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และเปิดกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด
3. มีการบูรณาการในการพัฒนานโยบาย (ขาขึ้น) และขับเคลื่อนเชิงระบบ (ขาเคลื่อน) รวมทั้งเชื่อมโยงการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานภาคีระดับพื้นที่และสมัชชาสุขภาพจังหวัด 4. จัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้วยวิธีการที่ยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และเปิดกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น