กรมอนามัย ยกระดับ ศกพ.ส แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ย้ำ กลุ่มเสี่ยงดูแลพิเศษ - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กรมอนามัย ยกระดับ ศกพ.ส แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ย้ำ กลุ่มเสี่ยงดูแลพิเศษ


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยกระดับ"ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านผลกระทบต่อสุขภาพ" (ศกพ.ส) เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมย้ำ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรดูแลและป้องกันสุขภาพตนเองเป็นพิเศษ


28 ธันวาคม 2563 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวยกระดับ "ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านผลกระทบต่อสุขภาพ" (ศกพ.ส)" ณ ห้องประชุมสมบูรณ์วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 ว่าจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล PM2.5 พบว่าสภาพอากาศบิด ลมสงบ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง และมีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับสีสัมในหลายพื้นที่ และยังมีอีก 7 พื้นที่ที่มี PM2.5 อยู่ในระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แม้ว่าที่ผ่านมาสถานการณ์จะเบาบางลง แต่คาดว่าวันที่ 28 - 29 ธันวาคม 2563 ลมมีกำลังอ่อนและการยกตัวของอากาศต่ำ ส่งผลให้ PM2.5 จะสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับสีสัม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงพื้นที่บางจังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นสูงด้วย


นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า
กรมอนามัยได้สุ่มสำรวจอาการที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่นละออง ในช่วง 14 - 25 ธันวาคม เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระวังอาการตนเอง พบว่าส่วนใหญ่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่นมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก (45.1%) รองลงมาคือ แสบจมูก (35.5%) และแสบตา คันตา (34.8%) โดยพบว่ามีอาการมากที่สุดในวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ค่า PM2.5 อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) หลายพื้นที่ และพบว่าคนที่มีโรคประจำตัวมีอาการมากกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะอาการคัดจมูก มีน้ำมูกและอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ


กรมอนามัยจึงได้ยกระดับในการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านผลกระทบต่อสุขภาพ (ศกพ.ส) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งภายใต้ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ) โดยมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง สื่อสารข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งการเจ็บป่วย พฤติกรรม ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 และสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเอง


"ทั้งนี้ ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือต รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เช่น ตำรวจจราจร แม่ค้าริมถนน พนักงานกวาดถนน คนขับรถรับจ้าง ทั้งรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ พนักงานส่งอาหาร และผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง จึงควรดูแลและป้องกันสุขภาพตนเองและครอบครัว หากจำเป็นต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และทำความสะอาดบ้านเรือนให้สะอาด ปราศจากฝุ่น นอกจากนี้ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ ด้วยการดูค่า AQI ได้ที่เว็บไชต์ air4thai.pcd.go.th หรือแอพพลิเคชั่น "Ai4tha!" ของกรมควบคุมมลพิษ หรือเฟซบุ๊กเพจ"คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5" ของกระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถร้องเรียนมาได้ที่ไลน์ 'อาสาสู้ฝุ่น กรมอนามัย" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here