สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมเสวนา“เลือกวิธีล้างไต ได้ข้อมูลครบ พบผู้เชี่ยวชาญ” เผยนโยบาย “สิทธิบัตรทอง นโยบายล้างไตฟรี” จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความพร้อมเชิงระบบเพื่อรองรับผู้ป่วยฟอกเลือดที่อาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยังคงมาตรฐานและคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดระหว่างการฟอกเลือด พร้อมแนะวิธีเลือกวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เหมาะสม
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า จากนโยบายผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองตัดสินใจร่วมกับแพทย์เพื่อเลือกวิธีการฟอกไตที่เหมาะสมได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาพยาบาลดังกล่าว มีความเห็นว่าเป็นนโยบายที่ช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงและมีสิทธิ์เลือกการฟอกไตที่เหมาะสมกับตน สอดคล้องกับวิถีชีวิตภายใต้บริบทข้อบ่งชี้ทางการแพทย์โดยการเลือกวิธีฟอกไตที่เหมาะสม โดยจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งนี้จากนโยบายฯ ดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องมีความพร้อมเชิงระบบเพื่อรองรับผู้ป่วยฟอกเลือดที่อาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยังคงมาตรฐานและคุณภาพถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดระหว่างการฟอกเลือดทุกฝ่าย จึงมีความเห็นร่วมกันเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิผล จึงจัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชน และผู้ป่วยโรคไต ในหัวข้อ “เลือกวิธีล้างไต ได้ข้อมูลครบ พบผู้เชี่ยวชาญ” ขึ้น และเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิผล ควรดำเนินการ ดังนี้
1.ให้ความสำคัญกับมาตรฐานและคุณภาพของการฟอกไตไม่น้อยไปกว่าปริมาณ โดยคงมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ได้ถือปฏิบัติมานาน และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยจะได้เร่งการตรวจรับรองคุณภาพของศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พร้อมดำเนินการปรับเกณฑ์การรับรองมาตรฐาน ภายใต้คณะอนุกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (ตรต.) ของแพทยสภา
2.ขยายการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเพิ่มบุคลากรในระบบที่ยังขาดแคลน รวมทั้งประสานกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ฯ เร่งการผลิตศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการทำเส้นเลือดฟอกไต
3.สร้างแนวปฏิบัติในการเริ่มการบำบัดทดแทนไตทั้ง 2 วิธี คือการฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง และมีการนำไปใช้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับข้อมูลการฟอกไตทั้ง 2 วิธีอย่างครอบคลุม
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการบำบัดทดแทนไต ที่เป็นประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ประหยัดงบประมาณของรัฐ คือการให้ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอก ไม่ว่าฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง ได้รับการปลูกถ่ายไตให้ไวที่สุด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่ต้องพึ่งพิงการฟอกไปตลอดชีวิต แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนอวัยวะไตบริจาคจากผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 500 ไต ซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยฟอกไตที่มีจำนวนหลักแสน ดังนั้นควรรณรงค์การบริจาคไต และให้ความสำคัญกับการปลูกถ่ายไตควบคู่กันไป และในขณะเดียวกันควรป้องกันไม่ให้ประชาชนชาวไทยต้องมาป่วยเป็นโรคไตและต้องฟอกไต ด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ลดการบริโภคเค็ม หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้อักเสบปวดข้อ (NSAIDs) และยาสมุนไพร โดยไม่จำเป็น และท้ายที่สุดภาคีองค์กรฯ จะเร่งดำเนินการสำรวจความพร้อม ศักยภาพ และหนทางการปฏิบัติเพื่อสนองนโยบายรัฐต่อไป
2.ขยายการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเพิ่มบุคลากรในระบบที่ยังขาดแคลน รวมทั้งประสานกับราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ฯ เร่งการผลิตศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการทำเส้นเลือดฟอกไต
3.สร้างแนวปฏิบัติในการเริ่มการบำบัดทดแทนไตทั้ง 2 วิธี คือการฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง และมีการนำไปใช้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับข้อมูลการฟอกไตทั้ง 2 วิธีอย่างครอบคลุม
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการบำบัดทดแทนไต ที่เป็นประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ประหยัดงบประมาณของรัฐ คือการให้ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอก ไม่ว่าฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง ได้รับการปลูกถ่ายไตให้ไวที่สุด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่ต้องพึ่งพิงการฟอกไปตลอดชีวิต แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนอวัยวะไตบริจาคจากผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 500 ไต ซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยฟอกไตที่มีจำนวนหลักแสน ดังนั้นควรรณรงค์การบริจาคไต และให้ความสำคัญกับการปลูกถ่ายไตควบคู่กันไป และในขณะเดียวกันควรป้องกันไม่ให้ประชาชนชาวไทยต้องมาป่วยเป็นโรคไตและต้องฟอกไต ด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ลดการบริโภคเค็ม หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้อักเสบปวดข้อ (NSAIDs) และยาสมุนไพร โดยไม่จำเป็น และท้ายที่สุดภาคีองค์กรฯ จะเร่งดำเนินการสำรวจความพร้อม ศักยภาพ และหนทางการปฏิบัติเพื่อสนองนโยบายรัฐต่อไป
ด้านพญ.ศศิธร คุณูปการ อายุรแพทย์โรคไต สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงวิธีการเลือกรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เหมาะสมว่า เมื่อก้าวเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การทำงานของไตจะลดลงอย่างมาก จนทำให้คนไข้มีอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวบวม ปัสสาวะออกน้อย หายใจเหนื่อยหอบ เป็นต้น การรักษาหลักในระยะนี้คือ “การรักษาบำบัดทดแทนไต” เพื่อให้คนไข้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุที่ยืนยาว การบำบัดทดแทนไตแบ่งได้เป็น 3 วิธี ได้แก่
1.การฟอกไตทางหน้าท้อง (Peritoneal Dialysis :PD) คือ การบำบัดทดแทนไตโดยอาศัยผนังในช่องท้องเป็นตัวกรองในการแลกเปลี่ยนเอาของเสียของจากร่างกาย โดยคนไข้จะต้องได้รับการผ่าตัดวางสายทางหน้าท้องเพื่อเป็นทางนำน้ำยาล้างไตเข้า-ออกจากร่างกาย วิธีนี้สามารถทำเองได้ที่บ้าน แบ่งได้เป็น 2 แบบย่อย คือ ทำด้วยตัวเองหรือใช้เครื่องอัตโนมัติ
• ข้อดี คือ คนไข้สามารถทำเองได้ที่บ้านวันละ 4 รอบ หรือทำวันละครั้งตอนนอนหากใช้เครื่อง ไม่ต้องเดินทางมารพ. บ่อยๆ ความเสี่ยงของการเกิดความดันตกระหว่างฟอกมีน้อย และมีโอกาสติดเชื้อน้อยมากหากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
• ข้อเสีย คือ การเดินทางไปพักที่อื่นๆ เช่นนอนรพ. ต้องพกเอาน้ำยาล้างไตไปด้วย และหากทำผิดขั้นตอนหรือมีการปนเปื้อนก็มีโอกาสติดเชื้อได้
2.การฟอกไตทางเส้นเลือด (Hemodialysis :HD) คือ การนำเลือดออกจากเส้นเลือดที่ผ่าตัดไว้หรือผ่านทางเส้นฟอกไตแบบชั่วคราวและแบบกึ่งถาวร ผ่านตัวกรองและเครื่องไตเทียม โดยคนไข้มีความจำเป็นต้องมารพ.2-3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมากกว่าหากมีปัญหาเพิ่มเติม
• ข้อดี คือ ไม่ต้องทำเอง อาศัยพยาบาลไตเทียมที่ได้รับการอบรมอย่างเชี่ยวชาญในการให้การรักษาพยาบาล สามารถกำหนดปริมาณน้ำออกจากร่างกายได้ ใช้เวลาน้อยกว่า/วัน (เฉลี่ย 4ชม./ครั้ง/วัน)
• ข้อเสีย คือ ต้องเดินทางไปรพ. /คลินิกไตเทียมบ่อย เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีปัญหาความดันตกได้ง่าย หรือหากมีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจ ก็อาจมีความเสี่ยงความดันตก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่ม อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการการติดเชื้อผ่านทางสายฟอกเลือดทั้งแบบชั่วคราวและแบบกึ่งถาวร หากดูแลรักษาสายฟอกไตผิดวิธีหรือใช้นานเกินกำหนด
3.การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation :KT) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและยืดอายุขัยของคนไข้ไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ยืนยาว โดยสามารถแบ่งเป็นการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต (เครือญาติ สามี ภรรยา) หรือผู้บริจาคสมองตาย
• ข้อดี คือ การรักษาวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือฟอกไตในการดำเนินชีวิต
• ข้อเสีย คือ ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันตลอดระยะเวลาที่ไตบริจาคยังทำงานอยู่ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจมีข้อแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด เช่นการเสียเลือด การปฏิเสธอวัยวะ เป็นต้น และการรอคอยอวัยวะเป็นระยะเวลานานเนื่องจากผู้บริจาคมีจำนวนน้อยกว่าผู้รอรับซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย
• ข้อดี คือ คนไข้สามารถทำเองได้ที่บ้านวันละ 4 รอบ หรือทำวันละครั้งตอนนอนหากใช้เครื่อง ไม่ต้องเดินทางมารพ. บ่อยๆ ความเสี่ยงของการเกิดความดันตกระหว่างฟอกมีน้อย และมีโอกาสติดเชื้อน้อยมากหากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
• ข้อเสีย คือ การเดินทางไปพักที่อื่นๆ เช่นนอนรพ. ต้องพกเอาน้ำยาล้างไตไปด้วย และหากทำผิดขั้นตอนหรือมีการปนเปื้อนก็มีโอกาสติดเชื้อได้
2.การฟอกไตทางเส้นเลือด (Hemodialysis :HD) คือ การนำเลือดออกจากเส้นเลือดที่ผ่าตัดไว้หรือผ่านทางเส้นฟอกไตแบบชั่วคราวและแบบกึ่งถาวร ผ่านตัวกรองและเครื่องไตเทียม โดยคนไข้มีความจำเป็นต้องมารพ.2-3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมากกว่าหากมีปัญหาเพิ่มเติม
• ข้อดี คือ ไม่ต้องทำเอง อาศัยพยาบาลไตเทียมที่ได้รับการอบรมอย่างเชี่ยวชาญในการให้การรักษาพยาบาล สามารถกำหนดปริมาณน้ำออกจากร่างกายได้ ใช้เวลาน้อยกว่า/วัน (เฉลี่ย 4ชม./ครั้ง/วัน)
• ข้อเสีย คือ ต้องเดินทางไปรพ. /คลินิกไตเทียมบ่อย เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีปัญหาความดันตกได้ง่าย หรือหากมีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจ ก็อาจมีความเสี่ยงความดันตก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่ม อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการการติดเชื้อผ่านทางสายฟอกเลือดทั้งแบบชั่วคราวและแบบกึ่งถาวร หากดูแลรักษาสายฟอกไตผิดวิธีหรือใช้นานเกินกำหนด
3.การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation :KT) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและยืดอายุขัยของคนไข้ไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ยืนยาว โดยสามารถแบ่งเป็นการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต (เครือญาติ สามี ภรรยา) หรือผู้บริจาคสมองตาย
• ข้อดี คือ การรักษาวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือฟอกไตในการดำเนินชีวิต
• ข้อเสีย คือ ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันตลอดระยะเวลาที่ไตบริจาคยังทำงานอยู่ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจมีข้อแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด เช่นการเสียเลือด การปฏิเสธอวัยวะ เป็นต้น และการรอคอยอวัยวะเป็นระยะเวลานานเนื่องจากผู้บริจาคมีจำนวนน้อยกว่าผู้รอรับซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย
การเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตทั้งสามวิธีนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน ได้แก่ โรคประจำตัวของคนไข้ ภาระในการเดินทางไป-กลับสถานพยาบาล ความเชี่ยวชาญของบุคลากรของสถานพยาบาลใกล้บ้าน และความเห็นจากทีมแพทย์ผู้ดูแล โดยทั้งสามวิธีที่กล่าวข้างต้นคนไข้สามารถใช้สิทธิ์สปสช.ในการรักษาได้ การที่มี “นโยบายล้างไตฟรี” นอกเหนือจากการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานในการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชี่ยวชาญในการฟอกเลือดยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งทางสมาคมโรคไตฯ ก็ได้ตระหนักในจุดนี้ จึงมีแนวทางในการขยายการฝึกอบรมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพเพื่อรองรับผู้ป่วยในอนาคต ในส่วนของทางภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการบริจาคอวัยวะและการเข้าถึงการปลูกถ่ายไตให้มากขึ้น โดยมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเชิญชวนให้ประชาชนบริจาคอวัยวะ ผ่านทั้งช่องทางสื่อต่างๆ หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยราชการ และที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในประชาชน เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวและยั่งยืนที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น