หอการค้าไทย-จีน เน้นย้ำภารกิจและบทบาทในทุกมิติเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน ในปี 2022 - Siamtimes.net

Breaking

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

นิทรรศการ งานมหกรรม

การสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

หอการค้าไทย-จีน เน้นย้ำภารกิจและบทบาทในทุกมิติเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน ในปี 2022


หอการค้าไทย-จีน นำโดย นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน พร้อมด้วย รองประธานกรรมการบริหารหอการค้าไทย-จีน, เลขาธิการบริหารหอการค้าไทย-จีน และคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย-จีน ได้จัดงานพบปะสังสรรค์สื่อมวลชน โอกาสนี้ทางหอการค้าไทย-จีน เน้นย้ำบทบาทและภารกิจด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน


นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน กล่าวว่า
"จากการที่ได้รับเกียรติทำหน้าที่ประธานกรรมการติดต่อกันเป็นสมัยที่สอง พร้อมๆกับการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมากมาย มีความเชื่อมั่นว่าพวกเราทุกคนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโควิดอย่างไรให้ปลอดภัย โอกาสนี้ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกสำนักที่ให้การสนับสนุนเผยแพร่กิจกรรมหอการค้าไทย-จีน สู่สาธารณะ โดยเฉพาะการรายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น หอการค้าไทย-จีน รายไตรมาส ทำให้บทบาทของหอการค้าไทย-จีน เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ปีนี้หอการค้าไทย-จีน ยังคงรักษา บทบาทภารกิจหลัก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในทุกมิติ"


"แม้ว่าประเทศจีน จะยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่การค้าระหว่างไทยและจีน ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และประเทศจีนยังคงเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ การค้าระหว่างไทยและจีนได้ขยายตัวมากถึง 16% มีมูลค่า 17,095 ล้านเหรียญสหรัฐหรือมีสัดส่วน 18% ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย ด้านการส่งออกไปจีน ขยายตัวเพิ่มขึัน 4.78% การนำเข้าจากจีนขยายตัวเพิ่มขี้น 21.73% ส่งผลประเทศไทยเสียเปรียบดุลการค้า 6,815 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ แม้ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ๆ เช่น ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและภาวะเงินเฟ้อ การค้าระหว่างไทยกับจีนยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก" ท่านประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน กล่าว


นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล กล่าวต่อว่า "มุมมองด้านการขยายตัวของการค้าระหว่างไทยกับจีน มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นอยู่ 3 ประเด็น


    - ประเด็นที่ 1 การใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซป เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ส่งออกไทยไปจีน ภายใต้ความตกลงอาร์เซป ส่วนใหญ่ได้รับการลดหย่อนภาษีในระดับที่เท่ากับกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน จาก และความตกลงอาร์เซป มีข้อกำหนดเรื่องการตรวจปล่อยสินค้าที่ชัดเจน เช่น กรณีที่เป็นสินค้าเน่าเสียง่าย จะได้รับการตรวจปล่อยการศุลกากรภายใน 6 ชั่วโมง และสำหรับสินค้าทั่วไปให้การตรวจปล่อยภายใน 48 ชั่วโมง จากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการส่งออกของไทย มาขอให้สิทธิภายใต้อาร์เซปกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถวางแผนการนำเข้าส่งอออกสินค้าล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งสินค้าผลไม้สด เช่น ทุเรียนสด ฝรั่ง มะม่วง มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลางสาด มะพร้าวทั้งกะลา ตลอดจนมันสำปะหลัง


    - ประเด็นที่ 2 การเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทย เป็นโอกาสที่สำคัญ ในการส่งเสริมกระจายสินค้าไทยเข้าไปยังประเทศจีนอีกช่องทางหนึ่ง โดยเฉพาะพื้นที่มณฑลตอนในของจีน จากการเยือนจีนของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ทางรัฐบาลจีน ยังเน้นความสำคัญ “การเร่งรัดก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ให้เชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว” ซึ่งจะสนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านบริการโลจิสติกส์ของประเทศ


    - ประเด็นที่ 3 หอการค้าไทย-จีน รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ประกออบการชาวจีนโลก (WCEC) สมัยที่ 16 ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2566 ที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการชาวจีนจากทั่วโลก กว่า 3,000 คน เข้าร่วมประชุมและสำรวจลู่ทางการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวในประเทศไทย การจัดประชุม WCEC สมัยที่ 16 ในปีหน้ามีส่วนช่วยสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก"


"เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ประจำปี 2565 ที่ใกล้จะถึงนี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดสมความปรารถนา" นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Responsive Ads Here